พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในบริเวณเทือกเขาภูพาน เมื่อ พ .ศ.25918 ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แผนที่ทางอากาศและการเสด็จสำรวจเส้นทางบริเวณ ป่าเขา น้ำตก และเป็นผู้ทรงเลือกพื้นที่สร้างพระตำหนักด้วยพระองค์เอง

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (1)

พื้นที่บริเวณพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์เมื่อแรกตั้ง พระตำหนักมี 940 ไร่ ในเวลาต่อมาได้ขยายเพื่อจัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพ ป่าคืนชีวิตสู่ธรรมชาติอีกประมาณ 1,010 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ 1,950 ไร่

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (12)

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์เปิดโอกาสให้ประชาชน ข้าราชการเข้าเผ้าเสด็จตามภารกิจ ต่าง ๆ ขณะทรงประทับที่พระตำหนักแห่งนี้ และในช่วงที่ไม่มีการเตรียมรับเสด็จ ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าชมบริเวณพระตำหนักชั้นนอก จึงนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (4)

สิ่งที่น่าสนใจในด้านการท่องเที่ยว มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

1. หมู่พระตำหนัก
หมู่พระตำหนักประกอบด้วย อาคารหลังพระตำหนักปีกไม้ เป็นพระตำหนักหลังแรก สร้างใน พ.ศ. 2518 เป็นรูปแบบล็อคเดขิน ใช้เป็นเรือนรับรองหลังแรก

ต่อมาใน พ.ศ. 2519 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระตำหนักใหญ่เป็นตึกสองชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บริเวณเนินหน้าผาห่างจากพระตำหนักปีกไม้ ประมาณ 500 เมตร และยังได้ก่อสร้างพระตำหนักที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน

และต่อมาได้มีการสร้างพระตำหนักหลังหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน รวมเป็นพระตำหนัก 4 หลัง  ห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ 1,500 เมตร ได้สร้างบ้านพัก พลโทเปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 2 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น)

นอกจากอาคารพระตำหนัก และบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดัง กล่าวแล้ว ยังมีอาคารบ้านพักข้าราชการฝ่าย ในอีก 68 หลังอยู่รายรอบ การปลูกไม้ดอก ได้ประดับอย่างสวยงาม ตามลักษณะภูมิทัศน์ช่วยส่ง เสริมให้พระตำหนักมีความสดชื่น งดงาม ดูเด่น เป็นสง่าน่าประทับใจ

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (17)

2. งานภูมิทัศน์
งานภูมิทัศน์ถือว่าเป็นส่วนที่ดึงดูดให้ ประชาชนเข้าชมด้วยความประทับใจ การจัดภูมิ ทัศน์อาศัยสภาพพื้นที่เป็นพื้นฐานในการจัด คือ ลักษณะพื้นที่เป็นเชิงเนินชายเทือกเขาภูพาน ตอนลาง

และอาศัยสภาพผิวหน้าดินเป็นหลักในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับคือ เป็นภูเขาหินทรายปกคลุมด้วยผังดินทราย สวนในพระตำหนักภูพานอาจจัดสวนได้ 5 รูปแบบคือ
1. สวนรวมพันธุ์ไม้ (Mixed garden)
2. สวนแบบประดิษฐ์ (Formal Style)
3. สวนแบบธรรมชาติ (Informal Style)
4. สวนหินประดับประดา (Rock garden)
5. สวนประดับหิน (Stone garden)

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (13)

นับจากเขตพระราชฐานชั้นนอกพระตำหนัก บริเวณริมถนนมีสระน้ำ ขอบสระทำด้วยหินทรายแดง ( Red stone) ปลูกบัวสายสีแดง ชมพู ม่วง ประดับ เรียงราย สลับกับต้นตะแบก ประดู่ และก็มีไม้ดอก ไม้ใบ สลับกันไปอย่างสวยงาม

บริเวณหน้ากองรักษาการมีสวนแบบประดิษฐ์ มีพืชสวยงามสีเขียว แดง เหลือง ปลูกและตัดแต่งเป็นรูปทหารท่าพายปืน

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (16)

เขตพระราชฐานชั้นใน มีทางสำหรับรับเสด็จพระราชดำเนินต้องผ่านธารน้ำ มีการก่อสร้างสะพานเหล็กทอดข้าม มุมถนนสามแยกจัดสวนประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายประจำพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นรูปยอดพระธาตุเชิงชุม ล้อมรอบด้วยพระมหามงกุฎ ปลูกต้นปาล์ม พัดโบก ปาล์มบังสูรย์ ต้นเข็ม และต้นยักเป็ดประดับด้วยหินทราย (Stone garden )

ด้านหลังปลูกต้นปาล์มพัด หรือกล้วยลังกาใน ต้นหมากสีแดง และต้นสนมูล คลุมต้นด้วยต้นผักชมแดงเป็นจุดเด่น

ฝั่งตรงข้ามหมู่หินประดับ จัดเสริมไม้ดอกสีต่าง ๆ ตามฤดูกาลแบบรวบรวมพันธุ์ไม้ (Mixed Garden) ดอกไม้ประดับถูกตกแต่งอย่างสวยงาม

บริเวณที่เป็นสวนประดับทั่วไปริมถนนภายในเขตพระราชฐาน ปลูกปาล์มพัดคู่ สลับเป็นระยะกับไม้ดอก มีดอกบานเช้ากระดุมทอง บานชื่น และหมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (15)

ข้างพระตำหนักเป็นพรรณไม้พุ่ม เนื่องจากแสงส่องถึงน้อยจึงเหมาะที่ใช้ไม้พวกคาลาเธีย สาวน้อยประแป้ง บอนสี และเฟิร์น

สวนหน้าพระตำหนักจัดประดับหิน แทรกต้นหน้าวัว เทียนหยดด่าง หลิวไทเป กล้วยไม้สกุลอีฟิ เดนดัม สีส้ม กุหลาบ อาซาเลีย หรือ กุหลาบพันปี

จุดเด่นในบริเวณนี้อยู่ที่ไม้พันธุ์ต่าง ๆ จะมีดอกออกดอกตลอดปี และในที่นี้มีต้นพลองออกดอกสีม่วง เป็นต้น ไม้ป่าซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดมาก

ที่เรือนคำหอมบริเวณนี้ประดับด้วยพันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน เช่น ดุสิตา มณีเทวา สวิสจันทร์ ทิย์เกสร ดอกสร้ายสุวรรณ รวมทั้งดอกเทียนป่า ดอกไม้เหล่านี้เป็นที่ชื่นชมของประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร (14)

พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถทรงนำช้างสำคัญ (ช้างเผือก) จากพระตำหนักสวนจิตรลดา รวม 4 เชือก มาเลี้ยงไว้ที่โรงช้างและให้ออกหาอาหารตามธรรมชาติ การนำช้างเผือกมาไว้ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ทำให้เกิดโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ เป็นจุดสนใจที่นักท่องเที่ยวจะเห็นช้างเผือกกลับจากหาอาหารตอนเย็น ๆ บริเวณอ่างเก็บน้ำที่ใช้ในพระตำหนัก

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จึงเป็นสถานที่น่าชมทั้ง พระตำหนักสวนไม้ดอกไม้ประดับและสัตว์ป่าที่ทรงนำมาเลี้ยงเพื่อคืนชีวิตสู่ป่า

สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองสกลนคร อยู่ริมถนนหลวงสายสกลนคร – กาฬสินธุ์  สถานที่ตั้งพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ตั่งอยู่ริมทางหลวงสาย สกลนคร-กาฬสินธุ์หมายเลข 213 บริเวณกิโลเมตรที่ 14 ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ16 กิโลเมตร

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัวและติดต่อเจ้าหน้าที่ที่กองรักษาการเพื่อเข้าชมพระตำหนักชั้นนอกได้

หากต้องการชมพระตำหนักชั้นในต้องติดต่อทางราชการเพื่อขออนุญาตจากผู้ดูแลพระตำหนักเป็นการล่วงหน้า

แผนที่เดินทางไปยังพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

ขอบคุณภาพจาก
[email protected]


3 ความเห็นที่มีต่อพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*