ภาษาอีสานหมวด "ห" 386 - 395 จาก 1363
-
หยาม
แปลว่า : ไม่เอาดอก เรียก บ่้อาหยาม ไม่กินดอก เรียก บ่กินหยาม ไม่ไปดอก เรียก บ่ไปหยาม. -
หย้าม
แปลว่า : ย่าม เหิม ทะยาน ได้ใจ ชิน เคยได้ สิ่งใดที่เคยได้ก็อยากได้ เคยกินก็อยากกิน การอยากได้อยากกินนี้ เรียก ย่าม หย้าม ก็ว่า อย่างว่า ได้อย่าหย้าม บ่ได้อย่าหลาบ (ภาษิต). -
หย้ำ
แปลว่า : เคี้ยว เคี้ยวด้วยฟัน เรียก หย้ำ เช่น ควายเคี้ยวหญ้า เรียก ควายหย้ำหญ้า ม้าเคี้ยวหญ้า เรียก ม้าหย้ำหญ้า. -
หยิก
แปลว่า : เอาเล็บกดให้เป็นรอย หรือเอานิ้วมือสองนิ้วบีบทำนองแหนบ เรียก หยิก อย่างว่า บ่อยากล้มขอนหากพาพลิก บ่อยากหยิกแม่มือหากพาเน้น (ผญา). -
หยิ่ง
แปลว่า : จองหอง อวดดี ลำพอง ถือตัว การถือตัว เรียก หยิ่ง อ่ง ก็ว่า อย่างว่า แมงวันเขียวตายย้อนขี้ สาวผู้ดีตายย้อนอ่ง (ภาษิต). -
หยิบ
แปลว่า : สิ่งของมีประมาณพอที่นิ้วมือจะหยิบขึ้นได้ เรียก หยิบมือ. -
หยิบ
แปลว่า : เย็บ เย็บเรียก หยิบ เช่น หยิบเสื้อ หยิบผ้า หยิบผ้าขาวม้า หยิบโส้ง. -
หยี
แปลว่า : หรี่ ตาที่หรี่ลง เรียก ตาหยี ตาหี่ ก็ว่า. -
หยุกหยิก
แปลว่า : กระดุกกระดิก หงุดหงิด ยุ่งยิ่ง ดิ้นไปดิ้นมา เรียก หยุกหยิก. -
หยุด
แปลว่า : ชะงัก นิ่ง อยู่กับที่ พักทำงานแล้วพักงานไว้ เรียก หยุดงาน อย่างว่า ชิไปหยุดอยู่ยั้งบ้านเพิ่นกินหยัง ขงเมืองเฮาแก่วกินกะยังกว้าง (กลอน).