ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 1051 - 1060 จาก 2286

คำว่า ก้านจอง

อีหล่า ไปเอาก้านจองมาให้แม่แหน่

หมายถึง หนูไปเอาทัพพีมาให้แม่หน่อย

ก้านจอง
ก้านจอง (ทับพี)
คำว่า กุก-กุก-เกีย-เกีย

สูผู้บ่าวสูมากุก กุก เกียแท้ อย่ามากุก กุก เกีย เกียใกล้ห ลาย ความหมายมีว่าเธอแฟนเธอทำไมไม่ไปไหนวนเวียนอยู่ใกล้ หรืออย่ามาวนเวียนติดตามไปด้วยไม่ว่าจะไปไกลหรือใกล้ไม่หนีไปห่าง

คำว่า ข่อหล่อแข่แหล่

บักกึ่ม : เบิ่งๆ ผู้ได่เฮ็ดไหอีแมแตก เป็นชิ้น ข่อหล่อแข่แหล่ อยู่ 
แปลว่า
บักกึ่ม : ดูๆ ใครก้ไม่รู้ทำไหคุณแม่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเลย

คำว่า บักสีดา

ต้นบักสีดาอยู่สวนดกบักคัก หมายความว่า ต้นฝรั่งที่อยู่ในสวนออกลูกดกมาก

คำว่า ซ็อกง็อก

เป็นหยังน้อคือนั่งซ็อกง็อกจังซั่น หมายความว่า เป็นอะไรเหรอ ทำไมถึงได้นั่งคอตกทำหน้าเศร้าแบบนั้น

คำว่า แก-ๆ-ฮ้อง

คำว่าแก ๆ ฮ้อง ในภาษาอีสาน แปลว่า เสียงนกร้อง มักพบในคำผญา

คำว่า คึด

คำว่าคึดในภาษาอีสาน แปลว่า คิด นั่นเอง 

เช่น คึดฮอดหลาย แปลว่า คิดถึงมาก เป็นต้น

คำว่า งาย

กินข้าวงาย หมายความว่า กินข้าวเช้า

คำว่า ขี้ตะโหลก

ขี้ตะโหลก หมายถึง พื้นดินที่ไม่เรียบ ตะปุ่มตะป่ำ ก้อนดินที่เกิดจากการไถนา 

มาดูตัวอย่างกันนะครับ 

นาเจ้าคือมีตะก้อนขี้ตะโหลกแท้ คือบ่เอาคราดมาคราดลงหล่ะ มันสิได้เรียบๆ ต้นข้าวจั่งสิได้เกิดส่ำๆกัน บ่มีต้นใด๋ใหญ่กว่ากัน 
แปลว่า 
ที่นาของคุณ มีแต่ก้อนดินที่ไม่เรียบ ทำไมไม่เอาคราดมาคราดลงซะหล่ะ จะได้ เรียบๆเสมอกัน ต้นข้าวก็จะได้เกิดเสมอกันด้วย ไม่มีต้นใดต้นหนึ่งใหญ่กว่ากัน 

อีกความหมายหนึ่ง ใช้ในการเปรียบเทียบ อะไรก็ตามที่ไม่เรียบ 
เช่น 
หน้าเจ้าคือเป็นขี้ตะโหลกจั่งซี้ บ่เบิ่งแยงหน้าตาจะของบ๊อ 
แปลว่า 
ใบหน้าคุณทำไม่เรียบอย่างนี้ ไม่ดูแลรักษาหน้าตาหรือไง 

คำว่า เขี่ยน

พ่อใหญ่ดำผูกควายไว้ ก็เลยบอกให้หลานไปย้ายหรือเปลียนที่ที่ผูกควายไว้ว่า 

บักหล้า ไปเขี่ยนควายให้แหน่เด้อ หรือ บักหล้าไปย้ายควายให้แหน่ 

แปลว่า หนูไปย้ายที่ผูกควายใหม่ให้หน่อย 

สว่นที่แปลว่าทำให้เป็นเส้นฝอย เช่น แม่สิเขี่ยนหน่อไม้เอาไว้ซุป เป็นต้น