ชื่อวิทยาศาสตร์ Aiolopus thalassinus tamulus
ชื่อพื้นเมือง ตั๊กแตนโม (เศรษฐีทุ่งโล่ง)
– ขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่เรียวสมส่วน
– ลำตัวสันด้านหลังแข็ง เรียวยาว บินได้ไกลมาก
– หนวดสั้น ตาสีหญ้าแห้ง โตกว่าตั๊กแตนชนิดอื่น
– สีของลำตัวเป็นสีเขียวแก่
– ปีกคู่หน้ามีสีเขียว และไล่ลายจุดสีน้ำตาลจนถึงหาง
– ขาคู่ที่ 3(ขาดีด) สีเขียวไล่เฉดสีหญ้าแห้ง มีหนามแหลมใหญ่ สีอมชมพู
– บริเวณโคนปีกคู่ที่ 2 (ปีกใน) เป็นสีเหลืองอ่อนและปีกสั้นแต่กว้าง
– บนกึ่งกลางด้านหลังของส่วนแรกเป็นสันเรียบ ๆ ต่างจากชนิดอื่น ซึ่งจะเป็นสันนูน
– ใน 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 1 ครั้ง
– ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือน เมษายน- มิถุนายน
– เริ่มวางไข่ใน เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม
– ชอบวางไข่ในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ เช่นใต้ขอนไม้ โคนไม้
– ไข่ทั้งหมดอยู่ในฝักซึ่งเป็นสารหยุ่น ๆ คล้ายฟองน้ำ
– ไข่มีลักษณะยาวรี ประมาณ 7 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม
– ไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
– ช่วงอายุของไข่ 35 วัน
– ไข่เริ่มฟักเป็นตัวอ่อนในช่วง พฤษภาคม, มิถุนายน
– ช่วงอายุตัวอ่อน 65 วัน
– มีการลอกคราบ 6 – 7 ครั้ง จึงกลายเป็นตัวเต็มวัย
– ตัวอ่อนมี 3 วัย
– อายุของตัวเต็มวัย 4 เดือน
ชอบอาศัยตามทุ้งหญ้า พื้นที่โล่ง ตามทุ่งนาในพื้นที่ราบสูง มีความสารถพิเศษ กว่าตั๊กแตนชนิดอื่น
คือ ดีดตัวครั้งหนึ่ง บินได้อึดและนาน บินได้ไกล ร่วม 200 เมตร ต่อ 1 ครั้ง
จึงนับได้ว่าเป็นตั๊กแตนที่จับตัวได้ยากนักแล อีกทั้ง “ตั๊กแตนโม” มีดวงตาประกอบ ชนิดตารวม
ที่มีขนาดโตกว่าตั๊กแตนปกติ จึงมาสามารถ ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้อย่ารวดเร็ว
ชอบกินยอดหญ้าอ่อน รวมทั้งยอดอ่อนของพืชพันธุ์ตามท้องถิ่นบางชนิด ไม่พบว่าตั๊กแตนโม ทำลายพืชไร่
นั่นแสดงว่าตั๊กแตนชนิดนี้ กินยอดพืชที่เกิดตามถิ่นฐานเดิมเป็นอาหาร
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนการเพาะปลูก มาเป็นการปลูกพืชทางเศรฐกิจ
ซึ่งนั่นคือ การลดจำนวนพืชพันธุ์ตามท้องถิ่น
ทำให้ตั๊กแตนชนิดนี้ หายากยิ่ง อีกทั้งพฤติกรรมการสืบพันธุ์ ของตั๊กแตนชนิดนี้ ปี 1 สืบพันธุ์ แค่ครั้งเดียว
จึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
เด็กเยาวชนในปัจจุบันอาจไม่เคยรู้จัก ตั๊กแตนโม
รู้จักแต่ตั๊กแตน ชลดา เด็กรุ่นต่อไปจะไม่รู้จักตั๊กแตน ชลดา รู้จักแต่ ตั๊กแตน อินดี้ (วงเพลงแฟชั่น)
ลงนาใหม่ ( หมายถึงการเริ่มฤดูกาลทำนา ) น้ำเต็มไฮ่เต็มคัน พ่อแม่ก็ไถนาฮุด ไล่ควายบักตู้ลงท่งนา
ลูกหลาน วิ่งเล่นตามไฮ่นา บ่างก็เล่นน้ำไฮ่นา เป็นที่สนุกสนาน บ้างก็เลี้ยง วัวเลี้ยงควาย
แลเห็น”ตั๊กแตนโม” บินลงมาจับคันแถนา รีบถือไม้แส่ไล่ หวังจะจับเอาเป็น อาหารว่าง
แต่”ตั๊กแตนโม”มันบินไกล ต้อง วิ่งไล่จนลิ้นห้อย ไล่จนมันหมดแรง บินตกลงน้ำไฮ่นา
ใครได้ “ตั๊กแตนโม” คุยอวดอ้างกัน ถือว่า “เก่ง” ที่เองที่มาของชื่อ “ ตั๊กแตนโม”
เพราะหากใครได้ ก็จะคุย”โม้” โอ้อวดกัน ประสาเด็กน้อย
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า “โม” ในภาคอีสาน
หมายถึง การบริจาค ( กริยา ) หรือ แปลว่า โต ( สดใส )
ตั๊กแตนโม เป็นของขวัญแห่งท้องทุ่ง ชีวิตของสัตว์ตัวเล็ก ที่มีคุณค่า คู่กับทุ่งนาอีสาน
มานานนับโบราณกาล
ปัจจุบันลดจำนวนลง ดังวิถีชาวที่ค่อยๆ เลือนหาย ไปอย่างแช่มช้อย
ดูความคิดเห็น
อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ตั๊กแตนโม ตั๊กแตนปาตังก้า และอื่นครับ