ปราสาทโดนตวล ศรีสะเกษ

หลังจากที่เราไปชมความงามที่ผามออีแดงมาแล้ว ถัดมาไม่ไกลที่อีสานร้อยแปดจะมานำเสนออีกที่หนึ่งคือ “ปราสาทโดนตวล” ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงเร็ก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

บริเวฯปราสาท โดนตวล

ปรางค์เป็นปรางค์เดี่ยว ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณ ๗ เมตร ย่อมุมทั้ง ๔ ด้าน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวปรางค์ ก่อด้วย อิฐครึ่งหนึ่งและก่อด้วยศิลาแลงครึ่งหนึ่งโดยก่อศิลาแลงจากฐานถึงครึ่งผนังเรือนธาตุ จากนั้นก่อขึ้นไปด้วยอิฐฝนเรียบไม่สอปูนจนถึงยอดปรางค์ บริเวณทางเข้าทำเป็นมุขยื่นออกไป ผนังของมุขเป็นอิฐ หลังคาคาดว่าจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องยาวประมาณ ๕-๗ เมตร สังเกตได้จากการเซาะร่องโครงสร้างหลังคาและขอบกระเบื้อง ที่ผนังองค์ปรางค์ด้านหน้า ต่อจากมุขมีแนวเสาหินทราย ๔ ต้น

เสารองรับหลังคาห้องโถง ปราสาทโดนตวล

สันนิษฐานว่า เป็นเสารองรับหลังคาห้องโถง หรือที่เรียกว่า มณฑป ทางเข้ามณฑปมีวงกลมประตู ๓ ช่อง วงกบประตูทั้งสองข้าง มีจารึกปรากฏอยู่เสาศิลาทราย ถัดจากประตูทางเข้าปราสาทออกมา มีเสาศิลาทราย อยู่อีก ๔ ด้าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซุ้ม โคปุระ แต่ไม่ปรากฏว่ามีกรอบประตู พบหินทราย ลักษณะเป็นธรณี ประตูตั้งไว้ ระหว่างเสาและหน้าธรณีประตูมีอัฒจันทร์ หินทรายวางอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์มีหินทรายเรียงต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวประมาณ ๓x๕ เมตร สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นบรรณาลัย และมีสระน้ำ ลักษณะเป็นคันดินมีน้ำขัง อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หลักฐานจารึก ปราสาทโดนตวล ๑ เลขที่ ศก. ๙ จารึกที่กรอบประตูด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร-สันสกฤต จำนวน ๑ ด้าน มี ๓ บรรทัด ระบุมหาศักราช ๙๒๔ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๑๕๔๕ เป็นจารึกที่เก่าแก่กว่า จารึกปราสาทเขาพระวิหาร ๑ เลขที่ ศก.๕ ระบุมหาศักราช ๙๕๙ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๘๐
[ที่มา http://www.m-culture.go.th]

ภาพถ่ายดาวเทียว ปราสาทโดนตวน

ปราสาทโดนตวน อาจจะดูเงียบๆกว่าผามออีแดง เพราะนักท่องเที่ยวยังไม่ค่อยรู้จักมากนัก และเมื่อก่อนทางเข้านั้นลำบาก แต่ทุกวันนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะเป็นถนนลาดยางเข้าไปถึงแล้ว ในช่วงที่น่าเที่ยวจะเป็นช่วงเดือนเมษายน เพราะช่วงนั้นชาวบ้านจะมีประเพณี ‘เซ่นไหว้ ปราสาทโดนตวล’ เพื่อความสงบสุข

พิธีเซ่นไหว้ ปราสาทโดนตวล

“ซึ่งการประกอบพิธีบวงสรวงปราสาทโดนตวล ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นกับประชาชนในพื้นที่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษที่ท่านได้ปกป้องอธิปไตยรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีสืบไป”
นายวีระยุทธ ดวงแก้ว กำนันตำบลเสาธงชัย กล่าว.

เจ้าหน้าที่คอยดูแล ปราสาทโดนตวล

เนื่องจากบริเวณปราสาทโดนตวน ติดเขตชายแดน จะมีเจ้าหน้าทีคอยบริการ ติดต่อสอบถามข้อมูล และตัวปราสาทเองตั้งอยู่กลางป่า จึงไม่ควรออกเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กำหนด ทางที่ดีอย่าหลงเดินเข้าไปในป่า
ท่านใดที่เดินทางมาที่ จ.ศรีสะเกษ ก็อย่าลืมแวะมาเยี่ยมชมได้ ตอนนี้เส้นทางสะดวกสบายแล้ว และมีที่จอดรถพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนครับ
อัลบัมภาพปราสาทโดนตวล

เซ่นไหว้ปราสาทโดนตวน
พิธีบวงสรวงปราสาทโดนตวน
ป้ายคำอธิบายปราสาทโดนตวน
รอบๆปราสาทโดนตวน
พระประธานในตัวปราสาทโดนตวล
ปราสาทโดนตวน ศรีสะเกษ
ตัวปราสาทโดนตวน
ปราสาทโดนตวน
เจ้าหน้าที่คอยดูแล ปราสาทโดนตวล
บริเวฯปราสาท โดนตวล
เสารองรับหลังคาห้องโถง ปราสาทโดนตวล
พิธีเซ่นไหว้ ปราสาทโดนตวล

แผนที่การเดินทางมายังปราสาทโดนตวล

แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"