ชื่อพื้นเมือง (อีสาน) แมงหยอด แมงไหย๋ แมงขี้กะตอด ( ศิลปินนักปั้นแต่ง แห่งเสาเถียง )
ชื่อภาษาไทย หมาร่า
ชื่อสามัญ Ceriana wasp , Wasp-mimic Hoverfly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenoptera Ceriana sp.
วงศ์ Sphecidae
ลำดับ insecta
ส่วนท่านที่ search ในกูเกิลว่า หมาร่า ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphex viduatus Christ
ไม่มีในสารบัญแมลงครับ มั่วที่สุด หากใครที่จบด้าน กีฏวิทยา ช่วยให้ความกระจ่างด้วย อย่าปล่อยให้เข้าใจผิด
ฝรั่งเขาจัดมันอยู่ในวงศ์ของต่อแตน และอยู่ในประเภท แตนดอกไม้ เด้อคูบา
แมงอันนี้ เป็นสายพันธุ์เดียวกับแตน และต่อ เนื่องจาก มีเหล็กใน หรือ ภาษาอีสาน เรียกว่า “ ไล”
สามารถ “ ตอด” ได้ อย่าไรก็ตาม แมงอันนี้ นิสัยไม่ก้าว ความระกำ ช้ำชอกใจ ที่เธอทำไว้นั้น
ส่วนใหญ่มีนิสัย รักสงบ ไม่ทำร้ายมนุษย์ง่ายๆ ดูเผิน ๆ มันชอบที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์มากกว่า
ผิดกับเรา ที่เห็นรังมันเมื่อไหร่ ต้องรังเกียจ หาไม้ไป “ ถั่ง “ หรือ “ซุ “ ให้มันพินาศ
แมงหยอด แมงไหย๋ ทำรังด้วยดินเหนียว บรรจง ปั้นแต่งให้เป็นรัง หรือที่เรียกว่า “ บ้านดิน “ ที่
กำลังฮิตกัน
มีลำตัวยาวประมาณ 2- 4 ซม. ที่พบในประเทศ ไทย มี 2 สายพันธุ์ คือ พวกที่มีลำตัว สีน้ำตาลคาดเหลือง
กับสายพันธ์ สีดำคาดขาวและดำเหลือง ล้วน มีลำตัวปราดเปรียว เป็นนักล่า อาหารคือ หนอน ไข่เพี้ยและแมลง
ที่เป็นศัตรูพืชขนาดเล็ก อื่นๆ นับเป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ ตามธรรมชาติ ยังพบว่าแมลงชนิดนี้ช่วยในการผสมเกสร
ช่วยให้พืชผล ติดผลได้ดี ช่วงท้อง มีท่อเพรียวเล็ก เชื่อมต่อกับก้นที่มีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับการบินที่
ปราดเปรียว มี รยางค์ เช่นเดียวกับแมลง ประเภท ต่อแตน
แมลงชนิดนี้ มีอายุเฉลี่ย 220 วัน นับจากวันที่ ออกจากรัง การผสมพันธ์ ไม่เลือกฤดู เช่นเดียวกับมนุษย์
ขึ้นอยู่กับอายุโตเต็มวัย ซึงจะอยู่ที่ 90 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะ หาที่ทำรัง ก่อด้วยดินเหนียว
ด้วยความพากเพียร ปกติจะปั้นรัง อยู่ที่ 3 ช่อง นั่นคือวางไข่ ประมาณ 1 ตัวต่อช่อง เมื่อทำรังเสร็จ
และหาตัวหนอน หรือแมลงเป็น ๆ มาไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารของลูกที่เกิดมา
ระยะเวลาการทำรัง “ โอดโปด วิมาน “ จะอยู่ที่ 1 สัปดาห์
ใช้เวลาในการในการวิวัฒนาการ จากไข่ เป็นตัวอ่อน 3 สัปดาห์ เมื่อแม่ทำรังเสร็จ ปิดรังให้มิดชิด จะตายลง
เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ออกมาจะกินอาหารที่แม่เตรียมให้ จนปีกงอกสมบูรณ์ จึงออกมาจากรัง นับว่ามัน กำพร้าตั้งแต่เด็กเลย
หน้าที่สำคัญทางธรรมชาติก็คือ การควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืช เพราะมันเป็นนักล่าตัวหนอน และแมลงอื่นเป็นอาหาร
บทบาทหน้าที่ของธรรมชาตินั้น ละเอียดอ่อนนัก ยากที่เราจะลากเส้นความสัมพันธ์ และเป็นผู้ตัดสิน ชาวสวนมะพร้าว
ในประเทศอินโดนิเซีย ประสบปัญหาด้วงมะพร้าวเจาะกินยอดมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวตายลง เป็นเนื้อที่หลายพันไร่
แม้จะใช้สารเคมีในการกำจัดก็ไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรค ยอดเน่าได้
จนในที่สุดได้มีการนำแมลง สายพันธุ์ แมงหยอด แมงใหย๋ นี้ มาเพาะเลี้ยงในสวน ปรากกฎว่า แมงอันนี้
ไล่กินตับ หนอนด้วงมะพร้าว จนการแพร่ละบาดลดลง ร้อยละ 90 ของพื้นที่ นี่คือความอัศจรรย์ของธรรมชาติ
เกือบเอาจรวดนิวเคลีย ยิงสวนมะพร้าว เพื่อทำลายโรคแมลงด้วงระบาดเสียแล้ว ดีนะที่มีคนศึกษาด้านแมลง
ในประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่าง ประเทศซาอุ ไม่เกี่ยวกับ ซาอุดร เด้อ การเกษตรกรรมทำได้ยาก
มีการลงทุนมหาศาล เพื่อการเพาะปลูก ทั้งที่ประเทศเขา มีท่อน้ำมันฟรี ตามรายทาง เปิดเติมฟรีได้เลย
ยังหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ในการเกษตร ( สารเคมี และ ยาฆ่าแมลง คือ ผลิตภัณฑ์จากการปิโตเลี่ยม)
ลงทุนซื้อ กิ่งก่า หรือ กะป้อมแดง กะปอมก่า ม้างโลก ไปปล่อยใน สวนผักของเขา เพื่อช่วยในการกำจัดแมลง
ตามเถียงนาทุ่งลำเนาไพร มักจะพบ รังของแมงอันนี้ “โตดโปด” ตาม เสาเถียงนา คาขื่อ
ตง และ สะยัวชาวอีสานตั้งชื่อตาม การสังเกตกิจกรรมของมัน โดยมันจะบินมาหาที่หลบฝน หรือ ความชื้น
ตามเถียงนาเมื่อพบรูเล็ก ๆ ตามไม้ ก็จะวางไข่ และหาอาหารมาเตรียมการไว้ให้ลูก ก่อนจะปั้นดินปิดปากรู
หรือหากหารูไม่ได้ มันก็หาหาทำเลเหมาะ ๆ ปั้นรังเลย มันจะค่อยๆ ขนดินเหนียวที่ผสมกับน้ำลายของมัน
มาปั้นทีละก้อนๆ เมื่อทำรังเสร็จ จะหาหนอนมาบรรจุไว้ ก่อดินทับ เพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้สำหรับลูกน้อย
แมงหยอด ไม่ทำร้ายมนุษย์ หากมนุษย์ไม่ไปทำร้ายมันก่อน แต่รังของมันเป็นที่รำคาญสายตา
คนเฒ่าคนแก่ชาวอีสานบอกว่า หากจะไปเอารังมันออก ให้รอจนลูกมันออกมาจากรังก่อน ค่อยไป”ซุ”ออก
มันเป็น ปาบเป็นกรรม ในบางครั้งเมื่อเรานอนดูทิวข้าวเขียวขจี เถาฟักแฟงกำลังออกดอก ตาม “ ฮ้าน”
เสียงลมพัดหวิว แว่วเสียงกริ่งเกราะ วัวควาย
เมื่อนอนแหงนไปมอง ขื่อเถียงนา จะเห็น ฮังแมงหยอด แมงไหย๋ มันกำลังคาบหนอนมาหยอดใส่รังดิน
เราเป็นมนุษย์ ก็ควร หมั่นหยอดความดีงาม และปัญญาอันสร้างสรรค์ เติมเต็มความเป็นคน