ชื่อ แมงหามผี ( พ่อมดผู้สันโดษ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phasma
ชื่อสามัญ phobaeticus
กลุ่ม “Phasmids”
วงศ์ Phamatidae
ทางภาคอีสานเรียก แมลงชนิดนี้ว่า “แมงหามผี”
พบกระจายอยู่ทั่วโลก พบมากในเขตร้อน และ เขตอบอุ่นประเทศไทย และ พบกระจายอยู่เฉพาะแถบเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้เทคนิคการพรางตัว สุดยอด เพื่อความอยู่รอด
คำว่า Phasma มาจากภาษาละติน แปลว่า” ผี” ซึ่งมาจากกลไกที่ใช้ในการหลบหลีกศัตรูของแมลงกลุ่มนี้
อ้าว ทางละติน ก็เรียก มันว่า ผีเหมือนกันกับ ทางอีสานเลย ทำไมหนอ
มีลำตัวยาว สีกิ่งไม้แห้ง หัวเล็ก มีขา 6 ขา ยาว ๆ เรียวเล็ก คล้ายกิ่งไม้
ขาแต่ละหาอยู่ห่างกัน ส่วนตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก ขาหน้า ยื่นยาวกว่าหัว
คล้ายใบหญ้าแห้ง หรือ กิ่งไม้แห้ง เพื่อล่อเหยื่อ
แมลงชนิดนี้ อาศัยการพรางตัวโดยใช้สีที่กลมกลืนกับกิ่งไม้แห้ง การเปลี่ยนสี ขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น และ ความเข้มของแสง โดยเซลล์ epidermis ที่อยู่เหนือผิว cuticle จะมีเม็ดสี (pigment granules)
เคลื่อนที่เข้าในเซลล์เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมจากการศึกษานี้จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้สู่กระบวน
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แมลงเป็นต้นแบบ อีกทั้งมูลของแมงหามผี บางชนิดสามารถนำมาใช้เป็นยาแผนโบราณในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร สมานแผลในระบบทางเดินอาหาร
ทางภาคกลาง เรียกแมงอันนี้ ว่า “ตั๊กแตนกิ่งไม้และ ใบไม้”
มีจำนวนชนิดทั้งหมด 32 ชนิด
ไม่สามารถจำแนกชนิดพันธุ์ได้ 18 ชนิด มีความสัมพันธ์กับพืชอาหาร ในกลุ่มของพืชสกุล กุหลาบ
ตั๊กแตนใบไม้มีชนิดพันธุ์เพิ่มขึ้น 1 ชนิดพันธุ์ และ พืชอาหารคือ มะยมป่า และ มะม่วง
ซึ่งจากจำนวนทั้งหมดนี้ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้แล้วกว่า 15 ชนิด
จากการสังเกตของผู้ตั้งกระทู้ ตอนไปเลี้ยง งัวเลี้ยงควายตามโคกป่า นาดอน พบว่า แมงหามผี
กินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร เช่นตั๊กแตนน้อย ตัวเพลี้ย และ แมงซ้าง โดยอาศัยการพลางตัว
แอบซุ่มพอเหยื่อเข้ามาใกล้ ก็รับใช้ขาเกี่ยวแล้วกัดกิน อีกทั้งยังกินเกสรดอกไม้ในป่า
กินน้ำหวานดอกไม้
ตามสุมทุมพุ่มไม้ทั่วไป หรือตามต้นไม้ ต้องสังเกตดีๆ เนื่องจากพรางตัวได้แนบเนียนมาก
ส่วนมากอยู่ตามกิ่งไม้แห้ง คอยดักกินด้วงมอด บางชนิด
ชาวอีสานไม่กินแมลงชนิดนี้ ส่วนมากผู้สาวไปหาฟืน หรือไปตัดฟืน จะพบแมงหามผี
เวลาจ้องมัน มันจะ แกว่งตัว เดินโซเซ ดังคนแบกของหนัก บ้างก็ยืนไกวตัว โยกเยก ข่มขู่
แต่ไม่เคยทำอันตรายแก่มนุษย์แต่อย่างใด
ตัวที่มีขนาดเต็มวัย ตัวโต ขนาดนิ้วหัวแม่เท้า ยาวคืบกว่าๆ โบราณว่า แมงหามผี เวลาจะหาฟืนมาเผาผี
ในป่าช้า มักจะเห็นแมงอันนี้ ลัดทาง ผู้ตั้งกระทู้ก็เคยถูกแมงหามผี ลัดทาง ยามไปหาควาย ( ตามควาย)
ในตอนแลง แมงหามผี คลานอยู่กลางทางดินทราย พอจ้องดู มันก็ทำท่าทาง โยกเยก ๆ โยกหน้า โยกหลัง
ปู่บอกว่า
“เห็นแมงหามผีแล้ว ให้เตือนสติตัวเอง ชีวิตเฮาดังแบกขอนดอก (ขอนผุ ) เมื่อชีวาวาย
ย่อมไร้ประโยชน์ เปรียบดังแมงหามผี ขาน้อยๆ แบกตัวโซเซ ซวนล้ม หากไม่สะสม
ความดี ในขณะมีชีวิต ก็เกิดมาไร้ค่า”
คนอีสานกินแมงไม้เป็นอาหาร เพราะความอดอยาก หรือเพราะวิถีที่ต้องใช้ประโยชน์จากธรรมชาติคุ้มค่า
เรียนรู้และปรับตัว ไม่ถือว่า แมลงเป็นสิ่งไร้ค่า แม้ว่า “แมงหามผี” จะกินไม่ได้ ก็ยังใช้เป็นเครื่องเตือนใจ
ให้หมั่นทำความดี ตามคติศาสนา