วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

ตำนานพระเจ้าไม้สะเลียม บทคัดย่อ: พระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้า พระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 เช่นเดียวกับองค์ที่ 3 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ชื่อของพระเจ้าไม้สะเลียมหวานเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวล้านนา โดยเฉพาะระหว่างชาวอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่กับชาวอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพราะเคยเกิดกรณีพิพาทในการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์ในพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้สะเลียมหวาน ถึง 4 ครั้งในช่วงเวลากว่า 30 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 – 2505 ว่ากันว่าพระเจ้าไม้สะเลียมหวานเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้สะเดาหวาน (คนเมืองล้านนาเรียกไม้ชนิดนี้ว่า ต้นสะเลียม) เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรประทับบนฐานไม้สี่เหลี่ยม มีห่วงเหล็กสองห่วงซ้ายขวาสำหรับยกองค์พระ พระเจ้าไม้องค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วน ปัจจุบันพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 เช่นเดียวกับองค์ที่ 3 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด