ศาลตาผาแดง

ศาลตาผาแดง ตั้งอยู่ติดกับตระพังตระกวนทางด้านทิศเหนือ และใกล้กับประตูเมืองด้านเหนือ ปรากฏในแผนที่สมัย รัชกาลที่ ๕ เรียกว่า ศาลเทพารักษ์ใหญ่ และศาลตาผาแดง ลักษณะเป็นโบราณสถานหลังเดี่ยวแบบปราสาทเขมร ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหมด ส่วนบนฐานบัวลูกฟัก มีห้องยาวหรือส่วนที่ยื่นออกไปจากตัวปราสาท อยู่ทางด้านตะวันออก และตะวันตก โดยห้องด้านตะวันออกมีความยาวกว่าด้านตรงข้าม เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะศาลตาผาแดง ได้พบชิ้นส่วนเทวรูปและเทวสตรี ประดับด้วยเครื่องตกแต่งอย่างงดงาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้วอาจเทียบได้กับศิลปะเขมรแบบบายน รุ่นแรกๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง โบราณสถานแห่งนี้เป็นหลักฐานยืนยันถึง การมีชุมชนที่มีวัฒนธรรมเขมรนับถือศาสนาฮินดูปะปนในแถบนี้แล้ว เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘

ข้อมูลเพิ่มเติม

เป็นศาลเก่าโบราณ สร้างจากศิลาแลงก้อนใหญ่ทั้งหมด

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด