เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

ป่าซับลังกา เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำสนธิ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก จึงเป็นป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดลพบุรี ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าหลายชนิด มีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าอันสมบูรณ์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลากหลายชนิด โดยเฉพาะเลียงผาซึ่งเป็น สัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อรักษาป่าไม้และสัตว์ป่าให้ป่าผืนนี้คงอยู่ตลอดไป และได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ป่าซับลังกาเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2529 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 13 เล่ม 103 ตอนที่ 235 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2529 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จึงมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2530 ที่ตั้งและอาณาเขต เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลลำสนธิ และตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 155 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 96,875 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ จดเขตท้องที่อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ทิศใต้ จดเขตหมู่บ้านป่าไม้ซับลังกา ตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ทิศตะวันออก จดเขตท้องที่อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ทิศตะวันตก จดเขตท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขา ล้อมด้วยเทือกเขาเป็นรูปก้ามปู ด้านทิศตะวันออกถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเหย ด้านทิศตะวันตากถูกกั้นด้วยเทือกเขารวก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 140 – 846 เมตร ในเทือกเขาทั้งหมดประกอบด้วยยอดเขา คือ เขาเรดาร์ เขาทหาร เขาพังเหย เขาซับหวาย เขานกกก เขาน้ำดั้น เขาผาผึ้ง เขาผาแดง เขาไม้รวก เขาถ้ำพระ เขาผาไม้แก้ว เขาตะโก เขาอ้ายจัน และยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 846 เมตร จึงเป็นป่าต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยพริก ห้วยกุดตาเพชร ห้วยหินลาว ห้วยสีดา ห้วยประดู่ ห้วยท่าแจง ห้วยใหญ่ ห้วยวังจัน ห้วยวังอิน ห้วยยาง ห้วยพลู ห้วยหนองกระโดน และห้วยลำสนธิ รวมกันเป็นลำสนธิ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอชัยบาดาล ความสำคัญของพื้นที่เนื่องจากป่าซับลังกา เป็นป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดลพบุรีที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์เป็นป่าต้นน้ำลำธาร และเป็นป่าต้นน้ำลำสนธิ เป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์ป่า ต้องรักษาไว้เพื่อรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ ประเภทของแหล่งธรรมชาติที่น่าสนใจ 1. ประเภทถ้ำ ได้แก่ ถ้ำพระนอก , ถ้ำสมุยกุย , ถ้ำสีดา , ถ้ำผาไม้แก้ว , ถ้ำผาผึ้ง และถ้ำผานกกก 2. ประเภทหน้าผา ได้แก่ หน้าผาไม้แก้ว หน้าผาแดง หน้าผานกกก หน้าผาน้ำย้อย หน้าผาโนนสวรรค์และหน้าผาสุดแผ่นดิน 3. ประเภทน้ำตก ได้แก่ น้ำตกผาผึ้ง น้ำตกสามสวย ได้ไหลรวมกันเป็นห้วยลำสนธิลงแม่น้ำป่าสัก ที่บ้านบัวชุม อ.ชัยบาดาล เป็นป่า อาทิ น้ำหยดแรกป้อน เขื่อนป่าสัก 4. ประเภทป่า ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าหญ้า และป่าไผ่ เส้นทางเดินป่า มี 2 เส้นทาง 4.1 เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติห้วยพริก – น้ำตกผาผึ้ง เหมาะสำหรับการเดินป่า ได้สัมผัสธรรมชาติที่หลากหลายตลอดเส้นทาง ชมความงามของลำห้วยพริก , น้ำตกผาผึ้งและถ้ำผาผึ้ง ปีนเขาอีกเล็กน้อย ก็จะพบเทือกเขาจันทร์ ระยะทางไป – กลับ3,200 เมตร 4.2 เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติห้วยประดู่ – ถ้ำพระนอก – ถ้ำสมุยกุย (เป็นเส้นทางสะเทินน้ำสะเทินบก) ระยะทางไปกลับ ประมาณ 1,800 เมตร หรือระยะทางการล่องแพ ไปกลับ 1,400 เมตร ชมธรรมชาติที่สวยงาม ความลึกลับของถ้ำผานอกและถ้ำสมุยกุย

ข้อมูลเพิ่มเติม

-ประเภทถ้ำ -ประเภทหน้าผา -ประเภทน้ำตก -ประเภทป่า

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด