การเลี้ยงปลากะพง ซึ่งเป็นสัตว์น้ำพวกกินเนื้อ โดยเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เพราะเจริญเติบโตได้ดี รสชาติอร่อย และขายได้ราคาดี จึงนิยมเลี้ยงและนำมาเพาะพันธุ์เป็นจำนวนมาก
ปลากะพงขาวที่จะปล่อยเลี้ยง โดยทั่วไปต้องมีขนาดความยาว 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) ขึ้นไป จึงจะเลี้ยงได้ผลดี และมีอัตรารอดตายมากกว่า 90%
อาหารที่นิยมใช้ในการเลี้ยงปลากะพงขาวคือ ปลาเป็ดและอาหารสำเร็จรูป ซึ่งปลาเป็ดที่ใช้ต้องเป็นปลาสด อาจจะสับให้เป็นชิ้นให้พอดีกับปากปลา โดยกำหนดจุดและเวลาที่แน่อนในการให้อาหาร วันละมื้อเท่านั้น
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การสร้างและเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีขนาด 1.5 – 2 ไร่ ความลึก 1.5 – 3 เมตร มีระบบน้ำผันเข้า-ออกอยู่คนละด้าน แต่กรณีที่เป็นบ่อเก่า ควรพรวนตะกอนเลนประมาณ 3-5 วันต่อครั้ง รอบ 3-5 ครั้ง หรือขุดลอกเสริมตกแต่งบ่อพร้อหว่านปูนขาวทั่วบ่อในอัตรา 60-80 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับค่า pH
ปลาเริ่มเลี้ยงแต่ละบ่อ ควรมีความยาวขนาดเท่ากันประมาณ 4-5 นิ้ว หากมีเครื่องเพิ่มอากาศในบ่อปล่อยอัตรา 2-3 ตัวต่อตารางเมตร หรือประมาณ 3,000 – 4,500 ตัวต่อไร่ หากไม่มีเครื่องเพิ่มอากาศ ควรปล่อย 0.25 – 0.50 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 400 – 800 ตัวต่อไร่ ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงควรปรับน้ำในถุงหรือถังลำเลียงให้มีอุณภูมิและความเค็มเท่ากับบ่อเลี้ยงก่อนหรือต่างกันไม่เกิน 2 หน่วย
ปลาที่ปล่อยแต่ละกระชังควรมีความยาว 10 เซนติเมตร (4นิ้ว) ขึ้นไป จึงจะเลี้ยงได้ผลดี สามารถหาซื้อได้จากฟาร์มเอกชนทั่วไป และศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของกรมประมง ถ้าปล่อยปลาขนาดต่างกัน ปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก และแย่งกินอาหารได้มากกว่า อัตราปล่อยตั้งแต่ 100 – 300 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อแรกปล่อยแล้วแยกให้มีความหนาแน่น 30 – 60 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อปลาโตขึ้นจนกระทั่งจับขาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและทำเลที่ตั้งกระชังด้วย
ควรถ่ายน้ำทุก 3-7 วัน ถ่ายน้ำประมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ ขณะถ่ายน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาตกใจ เพราะปลาอาจจะไม่กินอาหาร ควรเติมน้ำในช่วงประมาณ 03.00 – 04.00 น. เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจน และอุณหภูมิของน้ำจะไม่แตกต่างกันมาก
หากเลี้ยงประมาณ 60 วัน ได้น้ำหนักปลาประมาณ 90 กรัม เลี้ยง 90 วัน ได้น้ำหนักประมาณ 180 กรัม เลี้ยง 120 วัน ได้น้ำหนักประมาณ 250 กรัม หากเลี้ยงครบ 6-7 เดือน จะได้น้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 400-600 กรัม มีราคาดี เมื่อได้ปลาขนาด 800 – 1,200 กรัม
โรคจุดขาว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปลากะพงน้ำจืด อาการจะมีจุดกลมขาวเล็กๆ ตามลำตัว สามารถสังเกตเห็นได้ชัดที่ครีบ ควงสว่านเป็นครั้งคราว บางครั้งปลาจะเอาตัวถูกับกระชัง พลิกตัวไปมาในปลาขนาดเล็ก หากทิ้งไว้ระยะหนึ่งอาการจะเปลี่ยน คือ ลำตัวจะคล้ำลงเริ่มมีอุจจาระยาวติดรูทวารหนัก ไม่กินอาหาร ชอบมารวมกลุ่มที่ผิวน้ำ หายใจหอบและตายในที่สุด
การรักษาแช่ในน้ำยามาลาไคท์กรีน เข้มข้น 0.1 – 0.15 ส่วนในล้านส่วน ผสมกับฟอร์มาลีนเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน แช่นาน 2-3 วัน โดยเปลี่ยนน้ำและยาพร้อมกับเปลี่ยนภาชนะที่เลี้ยงปลาด้วยทุกวัน และควรรีบรักษาเมื่อปลาเริ่มเป็นโรค
การป้องกัน ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อกระชัง สวิง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ และในช่วงที่อากาศเย็น ๆ แม้ปลาจะไม่เป็นโรค ก็ควรแช่ยาสัปดาห์ละครั้ง และเลี้ยงปลาด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน จะช่วยให้ปลาแข็งแรงต้านทานโรคได้อีกทางหนึ่ง
ครั้งแรกประมาณ 117,500 บาท/กระชัง/รุ่น (2ปี)
ประมาณ 130,000-160,000 บาท/กระชัง/รุ่น