การปลูกพริกไทย เป็นพืชสมุนไพรเครื่องเทศที่มีความสำคัญของไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งเครื่องเทศ คือช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร และช่วยป้องกันอาหารเน่าเสีย ส่วนในด้านของสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงเป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่น่าปลูกอย่างยิ่ง
ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง โดยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 0-1200 เมตร และควรมีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน
ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี และมีความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนความเป็นกรด – ด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร
เป็นแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5
หากเป็นป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อน แล้วขุดดินตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน และพื้นที่ลาดชันเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันไดก่อน
การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ (1) ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง (2) นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9×14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง
ควรสำรวจแปลงพริกไทย หากพบเถาพริกไทยเหี่ยวเฉา และพบรอบเจาะของหนอนด้วงงวง ให้ตัดเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
ควรใส่ dolomite หรือปูนขาว ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 2-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ค้าง หรือแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง
สามารถให้แบบ mini sprinkler หรือหลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ให้ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้งตามสภาพดินฟ้าอากาศ
สำหรับพริกไทยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุ 8 เดือน – 1 ปีเศษ หรือต้นสูงเต็มค้างจะดีที่สุด
พริกไทยเป็นพืชที่ไม่ต้องแปรรูป สามารถขายได้ทั้งพริกไทยสดและพริกไทยแห้ง อีกทั้งราคาพริกไทยจะค่อนข้างสูง 100 บาท / กิโลกรัม และต้นทุนในการผลิตค่อนข้างต่ำ