ประโยชน์ของป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือการจัดการและใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการปลูกพันธุ์พืชหลากหลาย ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
ป่า 3 อย่าง คือการปลูกพืชหลากหลายชนิด โดยแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจ เป็นไม้ยืนต้นเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก จำปาทอง มะฮอกกานี พะยอม มะค่า กระถินเทพา เพาโลเนีย เป็นต้น
เป็นพืชที่ปลูกเพื่อเป็นอาหาร พืชที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นสมุนไพร
เป็นการปลูกต้นไม้สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่น ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม ย้อมผ้า เช่น ไผ่และหวานชนิดต่าง ๆ หรือต้นยืนต้นโตเร็วเพื่อนำมาทำเป็นฟืนหรือนำมาเผาถ่าน เป็นต้น
การปลูกป่า 3 อย่าง ก็ได้ให้ประโยชน์ตามที่กล่าวไว้ตอนต้น และประโยชน์อย่างที่ 4 นอกเหนือจากประโยชน์โดยตรงแล้ว ก็คือประโยชน์ในเรื่องระบบนิเวศดินและน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นเกิดขึ้นในพื้นที่
ในการปลูกป่า 3 อย่า ประโยชน์ 4 อย่างนั้น จะประกอบด้วยพืชหลากหลายชนิด มีตั้งแต่ขนาดเล็กที่อยู่ใต้ดิน ไปจนถึงขนาดใหญ่ เราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและได้ 5 ระดับ ดังนี้
ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง
ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง
ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา
ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการอธิบายแนวทางการปลูกพืชในพื้นที่ โคก หนอง นา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ที่มีอยู่ โดยเน้นการปลูกให้หลากหลาย เพื่อสร้างระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการใช้สอยในด้านต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิต