การฟ้อนรำจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเกี่ยวข้องกับ ชาวภูไทดำในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง และอำเภอสมเด็จ ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านถึงแม้จะอยู่ใกล้ๆกันก็จะมีความแตกต่างที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านต…
การฟ้อนรำจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเกี่ยวข้องกับ ชาวภูไทดำในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง และอำเภอสมเด็จ ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านถึงแม้จะอยู่ใกล้ๆกันก็จะมีความแตกต่างที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านตนเอง เช่น ท่าฟ้อน จึงเป็นวัฒนธรรมที่น่าสนใจและค้นหาข้อมูลเป็นอย่างมาก
เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท มักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว ซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน
เป็นการฟ้อนที่ได้การปรับปรุงท่ามาจากท่าฟ้อนภูไท ท่าฟ้อนในเซิ้งบั้งไฟ และท่าฟ้อนดอนตาล ประกอบด้วยท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว ฯลฯ ซึ่งผู้ฟ้อนจะเป็นผู้หญิงทั้งหมด
ของชาวภูไทได้ถูกรวบรวมโดย นายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนภูไทให้เป็นระเบียบ 4 ท่าหลัก ส่วนท่าอื่นๆนั้น คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้คิดประดิษฐ์โดยได้นำเอาการฟ้อนของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอคำม่วง รวบรวมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งเมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงได้ทำการแสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
แบบดั้งเดิม ใช้ แคน กลองกิ่ง กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ สำหรับวงโปงลาง ใช้เครื่องดนตรีครบชุดของวงโปงลาง ลายเพลง ใช้ลายภูไทน้อย
สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ แนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ภูไทมีตีนซิ่นยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแพรมน หรือผ้าแพรฟอย และสวมเครื่องประดับเงิน
โอยนอ…. ท่าน ผู้ฟังเอ้ย
บัดนี้ หันมาเว้า ทางภูไทกันตอนต่อ ขอเชิญพวกพี่น้อง ที่มาซ้อง ให้รับฟัง เจ้าเอ้ย เจ้าเอย
ชายเอ้ย เพิ่นว่าเมืองกาฬ์สินธุ์นี้ ดินดำ ดอกน้ำชุ่ม มีพ่องปลากุ่มบ้อน ดอกคือแข้เจ้าแก่งหาง
คันว่าปลานางบ้อน คือขางดอกฟ้าลั่น บัดว่าจั๊กจั่นฮ้อง ๆ ดอกคือฟ้าเจ้าล่วงบน อ้ายเอ้ย อ้ายเอย
ชายเอ้ย อันว่าเมืองกาฬ์สินธุ์นี้ มีของดี เจ้าหลายอย่าง ประเพณีบ่ว่าง บ่ลืมฮีตแม่นเก่าเดิม
ชายเอ้ย อันว่าเมืองฟ้าแดด สงยางถิ่นเก่า ถิ่นโบราณแต่เค้า อยากเชิญเจ้าไปเที่ยวชม อ้ายเอ้ย อ้ายเอย
ชายเอ้ย เชิญไปชมผืนผ้า ล้ำค่าแพรวาไหม ชื่อเสียงเขาดังไกล ส่าไปซุเมืองบ้าน
ส่วนว่าโปงลางนั่น ของสำคัญแต่เก่าก่อน ตาออนซอนบัดได้พ้อ ๆ บ่ลืมน้องผู้เดี่ยวโปง อ้ายเอ้ย อ้ายเอย
โอย.. นอ…. โอย… นา… สวยเลิงเลิง น้องนี่เอย… นา
ชายเอ้ย เที่ยวบ่เบื่อดอกเมืองฟ้า ขึ้นชื่อว่ากาฬสินธุ์ เมืองเสียงพิณ ลำปาว หมู่ไดโนเสาร์นั่น
ทั้งภูสิงห์ ภูค่าว ภูปอ ธาตุยาคู สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดอกคู่บ้าน ๆ สถิตแน่นแม่นคู่เมือง อ้ายเอ้ย อ้ายเอย
ชายเอ้ย คันว่าสาวภูไทนี่ สาวผู้ดีที่เขาส่า สาวเขาวงนั่นนา ว่างามล้ำ ลื่นไผ แท้เด้
ชายเอ้ย สาวภูไทบัวขาวนั่น งามคือกันบ่ออ้ายว่า สาวคำม่วงพุ่นนา ๆ กะคือด้ามดั่งเดียว กันนา อ้ายเอย
ชายเอ้ย เว้ามาฮอดบ่อนนี้ น้องพี่สิลาลง ขอลาไลคืนเมือ สู่เมืองกาฬ์สินธุ์พุ้น
ขอขอบคุณเด้อลุงป้า อาวอา พ่อและแม่ บัดเมื่อคราวหน้าพุ้น ๆ คงสิได้ดอกพบกัน เจ้าเอ้ย เจ้าเอย