คลังความรู้

ภาษาเขมร รวมคำศัพท์น่ารู้ พร้อมคำแปล

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาพูดของคนไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางภาคตะวันออกและภาคอีสานของประเทศไทย เช่น สุรินทร์ ศรีสะเกษบุรีรัมย์ อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด  เป็นต้น  นอกจากนั้น ภาษาเขมรยังใช้พูดในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้้าโขง ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ด้วย

ภาษาเขมร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก หรือเรียกว่า ภาษาตระกูลมอญ-เขมร  ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นภาษาของกลุ่มคน Indogenian People หรือกลุ่มคนดั้งเดิมของภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ภาษาเขมร มีลักษณะทั่วไปเป็นภาษาคำโดด คือเป็นภาษาที่ไม่มีการผันคำนาม คำกริยาไปตามความสัมพันธ์ที่คำนั้นมีกับคำอื่น  ประโยคภาษาเขมรประกอบด้วยคำที่ทำหน้าที่ประธาน กริยา และกรรม  คำส่วนใหญ่เป็นพยางค์เดียวและคำสองพยางค์ คำหลายพยางค์มักจะเป็นคำประสม หรือเป็นคำยืมมาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาบาลีและสันสกฤต (กาญจนา นาคสกุล. 2524 หน้า 1)

ภาษาเขมร เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในด้านการยืมคำ ภาษาเขมรยืมคำส่วนใหญ่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต จากการศึกษาภาษาเขมรโบราณที่ปรากฏในจารึกต่าง ๆ พบว่า ภาษาเขมรยืมคำจากภาษาสันสกฤตมาใช้ในด้านการปกครอง การทหาร วรรณกรรม รวมทั้งใช้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งอาณาจักร ลักษณะการยืมคำจากภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาเขมรจะน้ามาใช้ในฐานะที่เป็นภาษาสูงกว่าภาษาเขมร เช่น ใช้จารึกข้อความส่วนที่ส้าคัญ เป็นต้นว่า บทสรรเสริญเทพเจ้า พระมหากษัตริย์ ส่วนภาษาเขมรจะใช้จารึกข้อความส่วนที่ไม่ส้าคัญ ได้แก่ รายนามของที่ถวาย และชื่อข้าทาสบริวารต่าง ๆ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทเผยแผ่เข้ามาในดินแดนเขมร ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ภาษาเขมรจึงยืมคำภาษาบาลีเข้ามาใช้และใช้คำภาษาบาลีเป็นหลักในการสร้างคำใหม่สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เรียนรู้คำศัพท์ภาษาเขมร

คำศัพท์ภาษาเขมรเกี่ยวกับสี

  • สี ពណ៌ [ปัว] แปลว่า สี
  • สีขาว ស [ซอ] แปลว่า สีขาว
  • สีเทา ប្រផេះ [ปรอ-เพะฮ] แปลว่า สีเทา
  • สีดำ ខ្មៅ [คเมา] แปลว่า สีดำ
  • สีฟ้า ពណ៌ផ្ទៃមេឃ [พตึย-เมก]แปลว่า สีฟ้า
  • สีน้ำเงิน ខៀវ [เคียว] แปลว่า สีน้ำเงิน
  • สีเขียว បៃតង [บัย-ตอง] แปลว่า สีเขียว
  • สีแดง ក្រហម [กรอ-ฮอม] แปลว่า สีแดง
  • สีม่วง ពណ៌ស្វាយ [ปัว-ซวาย] แปลว่า สีม่วง
  • สีชมพู ពណ៌ស៊ីជំពូ [ปัว-ซีจุม-ปู] หรือ ពណ៌ផ្កាឈូក [ปัว-ผกา-ชูก] แปลว่า สีชมพู
  • สีส้ม ពណ៌ទឹកក្រូច [ปัว-ตึก-กโรว์จ] แปลว่า สีส้ม
  • สีน้ำตาล ត្នោត [ตนาวด์] แปลว่า สีน้ำตาล
  • สีเหลือ លឿង [เลือง] แปลว่า สีเหลือง

คำศัพท์ภาษาเขมรเกี่ยวกับวัน

  • วันอาทิตย์ ថ្ងៃអាទិត្ [ทงัย-อา-ตึต] แปลว่า วันอาทิตย์
  • วันจันทร์ ថ្ងៃច័ន្ [ทงัย-จัน] แปลว่า วันจันทร์
  • วันอังคาร ថ្ងៃអង្គារ [ทงัย-อ็อง-เกีย] แปลว่า วันอังคาร
  • วันพุธ ថ្ងៃពុធ [ทงัย-ปุ๊ด] แปลว่า วันพุธ
  • วันพฤหัสบดี ថ្ងៃព្រហស្បតិ៍ [ทงัย-ปโร-ฮัวะฮ์] แปลว่า วันพฤหัสบดี
  • วันศุกร์ ថ្ងៃសុក្ [ทงัย-ซก] แปลว่า วันศุกร์
  • วันเสาร์ ថ្ងៃសៅរ៍ [ทงัย-เซา] แปลว่า วันเสาร์
  • วันหยุด ថ្ងៃឈប់សម្រាក [ทงัย-ฌุบ-ซ็อม-ราก] แปลว่า วันหยุด
  • วันสุดสัปดาห์ ចុងសប្តាហ៍ [จ็อง-ซัปดา] แปลว่า วันหยุดสุดสัปดาห์
  • วันนี้ ថ្ងៃនេះ [ทงัย-นิ] แปลว่า วันนี้
  • วันพรุ่งนี้ ថ្ងៃស្អែក [ทงัย-สแอก] แปลว่า วันพรุ่งนี้
  • เมื่อวาน ម្សិលមិញ [มะสึนมืน] แปลว่า เมื่อวาน
  • สัปดาห์ សប្តាហ៍ [ซัป-ดา] แปลว่า สัปดาห์

คำศัพท์ภาษาเขมรเกี่ยวกับเดือน

  • เดือน ខែ [แค] แปลว่า เดือน
  • มกราคม មករា [เมียะกะรา] แปลว่า เดือนมกราคม
  • กุมภาพันธ์ កុម្ភៈ [กุมเพีย] แปลว่า เดือนกุมภาพันธ์
  • มีนาคม មីនា [มีเนีย] แปลว่า เดือนมีนาคม
  • เมษายน មេសា [แจด] แปลว่า เดือนเมษายน
  • พฤษภาคม ឧសភា [อุสะเพีย] แปลว่า เดือนพฤษภาคม
  • มิถุนายน មិថុនា [ พซาก] แปลว่า เดือนมิถุนายน
  • กรกฎาคม កក្កដា [กะกะดา] แปลว่า เดือนกรกฎาคม
  • สิงหาคม សីហា [สีหา] แปลว่า เดือนสิงหาคม
  • กันยายน កញ្ញា [กันเนีย] แปลว่า เดือนกันยายน
  • ตุลาคม តុលា [ตุลา] แปลว่า เดือนตุลาคม
  • พฤศจิกายน វិច្ឆិកា [วิชชิกา] แปลว่า เดือนพฤศจิกายน
  • ธันวาคม ធ្នូ [ธนู] แปลว่า เดือนธันวาคม

คำศัพท์ภาษาเขมรเกี่ยวกับนับเลข

  • ศูนย์ សូន្យ [โซว์น] แปลว่า 0
  • หนึ่ง មួយ។ [มวย] แปลว่า 1
  • สอง ពីរ [ปี] แปลว่า 2
  • สาม បី [เบ็ย] แปลว่า 3
  • สี่ បួន [บวน] แปลว่า 4
  • ห้า ប្រាំ [ปรัม] แปลว่า 5
  • หก ប្រាំមួយ។ [ปรัม-มวย] แปลว่า 6
  • เจ็ด ប្រាំពីរ [ปรัม-ปี] แปลว่า 7
  • แปด ប្រាំបី [ปรัม-เบ็ย] แปลว่า 8
  • เก้า ប្រាំបួន [ปรัม-บวน] แปลว่า 9
  • สิบ ដប់ [ด็อป] แปลว่า 10
  • หนึ่งร้อย មួយ​រយ [มวย-โรย] แปลว่า 100
  • ห้าร้อย ប្រាំ​រយ [ปรัม-โรย] แปลว่า 500
  • หนึ่งพัน មួយ​ពាន់ [มวย-ป็วน] แปลว่า 1,000
  • หนึ่งหมื่น មួយ​ម៉ឺន [มวย-มืน] แปลว่า 10,000
  • หนึ่งแสน រយពាន់ [มวย-แซน] แปลว่า 100,000
  • หนึ่งล้าน មួយ​លាន [มวย-เลียน] แปลว่า 1,000,000

ประโยคตัวอย่างบทสนทนาทั่วไป

  • สวัสดี សួស្ [ซัว-ซะเด็ย]
  • ลาก่อน លាសិនហើយ [เลีย-เซิน-เฮย]
  • ราตรีสวัสดิ์
  • สบายดีไหม
  • สบายดี
  • ขอบคุณ
  • คุณชื่ออะไร
  • ฉันชื่อ
  • ยินดีที่ได้รู้จัก
  • แล้วพบกันใหม่
  • ฉันเสียใจ
  • ฉันไม่เข้าใจ
  • ช่วยพูดอีกครั้งได้ไหม
  • ช่วยพูดช้า ๆ หน่อย

ความสัมพันธ์ของภาษาไทยและภาษาเขมร

ภาษาไทยและภาษาเขมรถึงแม้ว่าจะเป็นภาษาคนละตระกูลภาษากัน แต่เนื่องจากไทยและเขมรมีอาณาเขตติดต่อกัน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานทั้งในฐานะมิตรและศัตรู จึงทำให้มีคำยืมภาษาไทยในภาษาเขมรเป็นจ้านวนมาก และขณะเดียวกันก็มีคำภาษาเขมรจ้านวนไม่ที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย นอกจากนั้น ยังปรากฏคำศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรอีกเป็นจ้านวนมากเหมือนกัน เนื่องจากคำเหล่านั้นยืมมาจากแหล่งเดียวกัน คือจากภาษาบาลีและสันสกฤต

ภาษาเขมรนอกจากจะยืมคำมาจากภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษาไทยแล้ว ภาษาเขมรยังยืมคำมาจากภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาฝรั่งเศส โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส เขมรได้ยืมคำจากภาษาฝรั่งเศสมาใช้เป็นจ้านวนมากหลังจากที่เขมรถูกฝรั่งเศสปกครอง ภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่ถูกยืมมาใช้ในภาษาพูดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองหลวง

ประวัติอักษรขอม

อักษรขอมมีต้นกำเนิดมาจาก “อักษรคฤนถ์” หรือที่เรียกว่า “อักษรอินเดียฝ่ายใต้” ซึ่งใช้อยู่ในราชวงศ์กทัมพะและราชวงศ์ปัลลวะ ชาวอินเดียได้นำตัวอักษรแบบนี้มาเผยแพร่ในดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ โดยทราบได้จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น จารึกเยธมมาที่พบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม จารึกราว พ.ศ. 1100 -1200 และมีจารึกที่พบในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่พระเจ้าภววรมันที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 1150 เป็นต้นมาอีกหลายจารึก (สงบ บุญคล้อย 2524 : 18)

อักษรอินเดียฝ่ายใต้จึงเป็นต้นเค้าของอักษรขอม มอญ และชาติอื่น ๆ ซึ่งเคยอยู่ในดินแดนนี้ก่อนที่ไทยจะได้มีอำนาจ ปกครองเหนือดินแดนแถบนี้  อักษรขอมที่มีวิวัฒนาการมาจากตัวอักษรคฤนถ์ เรียกว่า “อักษรขอมโบราณ” ซึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ (สวัสดิ์ วิเศษวงษ์ 2524 : 13) อักษรขอมบรรจง และ อักษรขอมหวัด

อักขระสมภพ (กำเนิดอักษร)

อักษรขอมบรรจง

อักษรขอมบรรจง เป็นอักษรที่ใช้จารึกลงในศิลาหรือใบลาน หรือเขียนเพื่อให้อ่านง่าย ใช้เขียนตัวอักษรธรรมโดยเฉพาะในประเทศไทยนักปราชญ์ใช้ตัวอักษรชนิดนี้ มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวอักษรขอมบรรจง มีตัวอย่างในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย (จารึกหลักที่ 6) ซึ่งจารึกด้วยอักษรขอม ภาษามคธ

อักษรขอมหวัด

อักษรขอมหวัด เป็นอักษรที่ใช้จดบันทึกเพื่อความรวคเร็ว เรียกกันว่า “ตัวอักษรเกษียน” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “เขียน” ตัวอักษรขอมหวัดนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงใช้ดัดแปลงมาเป็นลายสือไทยนั่นเอง

อักษรภาษาเขมรในปัจจุบัน

พยัญชนะภาษาเขมรมี 2 ลักษณะ คือ พยัญชนะตัวเต็ม 33 ตัว และพยัญชนะเขมรตัวเชิง 32 ตัว (ตัวที่ไม่มีเชิง คือ ឡ (ลอ) และพยัญชนะเขมรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังเขียนได้ 2 แบบ คือ อักษรมูล และอักษรเชรียง

อักษรมูล អកសរមូល

อักษรมูล คำว่า “มูล” แปลว่า “กลม” เป็นตัวอักษรบรรจงของเขมร มีลักษณะตัวกลม ตัวอักษรกว้างกว่าอักษรขอมหวัด ใช้สำหรับเขียนหนังสือธรรม เช่น พระไตร-ปีฎก หนังสือเทศน์ เป็นต้น  และใช้เขียนถ้อยคำที่ต้องการให้เด่น เช่น พาดหัวข่าว ป้ายโฆษณา ชื่อบท ชื่อหัวเรื่อง เป็นต้น

อักษรมูลหรืออักษรขอมเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย เพราะในอดีตไทยเคยใช้อักษรมูลเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก นิทานชาดก เป็นต้น

อักษรเชรียง អកសរជទរៀង

อักษรเชรียง คำว่า “เชรียง” แปลว่า “เอน” เป็นตัวอักษรเขมรแบบธรรมดา เดิมตัวอักษรเขียนแบบเฉียง จึงเรียกตามลักษณะอักษรว่า “เชรียง”  คือใช้เขียนอักษรตัวเอน ปัจจุบันจะเขียนตัวตรงหรือเอนก็ได้และเป็นอักษรที่เขมรใช้อยู่ในปัจจุบัน นิยมใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์ เพราะทำตัวพิมพ์ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

วิธีเขียนอักษรภาษาเขมร

วิธีเขียนอักษรภาษาเขมร

รูปสระในภาษาเขมร

รูปสระในภาษาเขมรมีทั้งที่เป็นแบบตัวบรรจงและตัวธรรมคาเพื่อใช้ประสมกับอักษรมูล และอักษรเชรียง รูปสระใช้เขียนไว้ด้านหน้า ด้านบน ด้านล่าง และด้านหลังพยัญชนะเช่นเดียวกับภาษาไทย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สระลอย และสระจม

สระลอย

สระลอย หรือ สระเต็มตัว ្សៈទពញតួ หมายถึง สระที่ไม่ประสมกับพยัญชนะ มีทั้งที่เป็นอักษรมูลและอักษรเชรียง มีอยู่ 18 ตัว  รูปสระที่เขียนได้ตามลำพังไม่ต้องมีพยัญชนะเกาะเหมือนสระจม เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย และเป็นสระพิเศษที่วางไว้ต้นคeในกรณีที่คeนั้นเป็นสระ ซึ่งใช้ได้เหมือนมีทั้งสระและพยัญชนะรวมกัน ลักษณะการใช้เหมือนสระ ฤ ฤา ฦ ฦา ในภาษาไทยปัจจุบัน

สระลอยนิยมใช้เขียนคำตามภาษาบาลี – สันสกฤต ที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่ก็ใช้เขียนที่เป็นภาษาเขมรแท้ได้เช่นกัน

สระภาษาเขมร สระลอย

สระจม

สระจม หรือ สระนิฮสัย ្សៈនិសស័យ หมายถึง สระที่นำไปประสมกับพชัญชนะมีทั้งอักษรมูล และอักษรเชรียง มี 20 ตัว รูปสระที่ไม่สามารถเขียนได้ตามลำพัง ต้องประกอบกับรูปพยัญชนะจึงจะออกเสียงได้ มี 24 รูป โดยรูปสระ 1 รูป ออกเสียงได้ 2 แบบ ขึ้นอยู่กับพยัญชนะที่สระประสมอยู่นั้นเป็นพยัญชนะในกลุ่มเสียงออ หรือกลุ่มเสียงโอ

สระภาษาเขมร สระจม

ประวัติอักษรขอมที่ปรากฎในไทย

ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์มาตั้งแต่โบราณ ตัวอักษรขอมจึงมีอยู่ในวงการพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เห็นได้จากศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยซึ่งได้จารึกไว้เป็นอักษรขอม ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี  ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยนิยมใช้อักษขอมจาร (จารึก) ลงบนใบลาน เพราะถือกันว่าเป็นอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์จึงใช้จารพระพุทธวจนะ

วรรณคคีหลายเรื่อง เช่น มหาชาติคำหลวง มหาชาติ 13 กัณฑ์ ปฐมสมโพธิกถา ก็มีต้นฉบับเป็นอักษรขอม นอกจากนี้ยังมีตำราพิชัยสงคราม ตำราไสยศาสตร์ เลขยันตร์ และคาถาอาคมเวทมนตร์ต่าง ๆ ที่คนไทยถือว่าขลังมาตั้งเต่โบราณกาลก็ล้วนแต่ใช้อักษรขอมทั้งสิ้น

จากความสำคัญของอักษรขอมดังกล่าวมาแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาอักษร ขอม ดังที่ สวัสดิ์ วิเศษวงษ์ (2524 : 7) กล่าวว่า “การศึกษาภาษาบาในเมืองไทยแต่โบราณมา กุลบุตรต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนอักษรขอมก่อน เพราะภาษาบาลีจารไว้ด้วยอักษรขอม ผู้เริ่ม

เรียนต้องเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ ท่องสูตรมูล ซึ่งมีทั้งพากย์มคธและพากย์ไทย ล้วนเป็นอักษรขอมทั้งสิ้น”

การศึกษาอักษรขอมยังแพร่หลายในสมาชิกของราชวงศ์ มีความรู้ในอักษรขอมเป็นอย่างดี ในการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นอักษรขอมภาษามคธมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลที่ 7

ความนิยมในการศึกษาอักษรขอมเพิ่งมาเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยใช้อักษรไทยพิมพ์พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาแทนอักษรขอม ทำให้การศึกษาอักษรขอมมีน้อยลงมาก ปัจจุบันในสถานอุดมศึกษาหลายแห่งได้บรรจุหลักสูตรการเรียนอักษรเขมรและภาษาเขมรให้แก่นักศึกษา ซึ่งก็เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอักษรไทยและภาษาไทยกลับมาอีกครั้ง

คำภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย

ภาษาเขมรเข้ามาปะปนใช้ในภาษาไทยมีมากมายในรูปของภาษาในชีวิตประจำวัน คำราชาศัพท์ ตลอดจนภาษาวรรณคดี  ในทางศาสนาถือว่าอักษรขอมเป็นอักษรที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ใช้เขียนชาดกต่าง ๆ คาถาอาคม ซึ่งนิยมเขียนลงในใบลาน สมุดข่อย ภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทยจึงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคังนี้

คำสามัญ หมายถึง คำยืมภาษาเขมรที่ใช้พูดกันทั่วไปในชีวิตประจำวันซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย จนบางครั้งเข้าใจว่าเป็นคำไทยแท้ เช่น เกิด ตรง จับ โปรด เดิน ฯลฯ

คำราชาศัพท์ คำยืมภาษาเขมรที่เป็นคำราชาศัพท์นั้นมีทั้งที่เป็นคำราชาศัพท์โดยตรงและโดยปริยาย ดังนี้

  • คำราชาศัพท์เขมรโดยตรง เหมายถึง คำยืมที่เป็นคำราชาศัพท์เขมร เช่น เสวย เสด็จ ทรง ทูล บรรทม ประชวร ถวาย ตรัส ฯลฯ
  • คำราชาศัพท์เขมรโดยปริยาย หมายถึง คำยืมที่เป็นคำเขมรสามัญแต่เติมคำว่า”พระ” ลงไป จึงเป็นคำราชาศัพท์ เช่น พระเพลิง พระกลด พระเขนย พระทรวง พระเพลา พระขนน พระปราง ฯลฯ

คำในวรรณคดีและศิลาจารึก หมายถึง คำที่ปรากฎในวรรณดีและศิลาจารึกแต่ไม่ได้ใช้เป็นคำสามัญ ดังนี้

คำในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น สมุทโมยคำฉันท์ ลิลิตตะเลงพ่าย มหาชาติคำหลวง รามเกียรติ์ เป็นต้น เช่น แข (พระจันทร์) แถง (พระจันทร์) แมก (กิ่งไม้) เนา (อยู่) ผลู (ทาง) ไถง (พระอาทิตย์) ขมี (เร็ว) เชวง (รุ่งเรือง) เชลง (แต่ง) เลบง (การเล่น) ถกล (งาม) เถกิง (รุ่งเรือง) ลุ (ถึง) ฯลฯ

คำในศิลาจารึก เช่น โอย (ให้) เพรง (ครั้งก่อน) กระเลียก (แลดู มองดู) ดงวาย (สิ่งของถวาย) ธม (ใหญ่) ฯลฯ

อ้างอิง

แชร์
เซียงเหมี่ยง

เด็กผู้ชายบ้านนอก ที่เกิดและโตท่ามกลางความเป็นอีสาน จนซึมซับกลายเป็นความชื่นชอบและสนใจในประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และอีกหลาย ๆ อย่าง จนได้นำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าในเว็บไซต์ อีสานร้อยแปด นั่นเอง

ดูความคิดเห็น