ทุกจังหวัดย่อมมีศาลเจ้าประจำจังหวัดอยู่ทุกแห่ง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาหรือที่เราเรียกกันว่าโคราช ก็มีเช่นเดียวกัน นั่นคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แต่…นอกเหนือจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราชแล้ว ยังมีศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งที่เก่าแก่ นั่นก็คือ ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก วันนี้ ทีมงานอีสานร้อยแปด จะขอพาทุกท่านมาชมกันว่า ศาลเจ้าแห่งนี้มีที่มา ที่ไปและเป็นอย่างไรกันบ้าง เผื่อใครที่สนใจ เมื่อมีโอกาสไปโคราชจะได้แวะเวียนไปที่นั่นกัน ตามมาดูกันได้เลย
ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก ตั้งอยู่บริเวณสวนสุขภาพ ใกล้ๆเทศบาลนครราชสีมา สังเกตง่าย ๆ ศาลเจ้าแห่งนี้จะอยู่ติดกับคูเมืองโบราณเลย บริเวณโดยรอบจะเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนเมืองนครราชสีมา กศน. โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา และหน่วยงานราชการอย่างสหกรณ์จังหวัด ดังนั้น ใครที่จะไป ควรมาในช่วงกลางวันประมาณ 9.00 – 14.00 น. (หลังพ้นชั่วโมงรถติดและก่อนเวลาเลิกงาน) เพราะรถจะไม่เยอะมาก แต่ถ้ามาตอนเย็นรับรองว่าไม่มีที่จอดแน่ๆ เพราะแค่รถผู้ปกครองที่มารับนักเรียนก็เต็มหมดแล้ว
เอาล่ะ…พูดกันมาซะยาว มาดูที่มาที่ไปของศาลเจ้าพ่อช้างเผือกกันดีกว่า โดยตามตำนานเล่าว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ประมาณปี 2315 – 2320 ได้มีช้างเผือก(พัง) 2 เชือก ซึ่งคล้องได้จากแขวงภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างที่ควาญช้างกำลังนำช้างทั้ง 2 เชือก เข้ากรุงเทพฯ เพื่อนำไปถวายรัชกาลที่ 1 แต่ช้างทั้งคู่ก็เกิดมาล้มที่ริมลำตะคอง ณ เสาตะเคียนหิน ตั้งแต่นั้นมาจึงได้ตั้งช้างเผือกคู่นั้นเป็นพระอินทรไอยราและพระเทพกุญชร โดยของที่นำไปถวายจะประกอบด้วย กล้วย อ้อย และมะพร้าว
แต่ระหว่างนั้นได้มีการย้ายศาลเจ้าพ่อช้างเผือกไปไว้ที่บริเวณสหกรณ์จังหวัด ปรากฏว่ามีคนงานล้มตาย 5 คนอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนไม่มีใครกล้ามาทำต่อ นายช่างฝรั่งในยุคนั้นจึงได้อัญเชิญศาลเจ้าพ่อช้างเผือกมาไว้ที่เดิม จากตำนานที่กล่าวมาก สอดคล้องกับคำให้การของคนเฝ้าศาลในปัจจุบันว่า ศาลเจ้าดังกล่าว เคยมีการเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สหกรณ์ของจังหวัดจริง ก่อนจะย้ายกลับมาที่บริเวณคูเมืองโบราณดังเดิม
สำหรับพี่น้องชาวโคราชคนไหน อยากเดินทางไปกราบไหว้สักการะก็สามารถเดินทางมาได้ โดยศาลเจ้าแห่งนี้จะเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.
ขอขอบคุณรูปภาพจาก