มาแล้วเด้อ รวบรวมภาษาอีสานยอดฮิตจากคำฮิตที่พี่น้องให้ความสนใจ แอดมินได้รวบรวมสถิติในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เรามาดูกันเลยครับว่าช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ภาษาอีสานคำไหนจะได้รับความนิยมมากที่สุด
- “ส้มแบ้”
แปลว่า : แหนมที่ทำจากเนื้อแบ้ หรือ เนื้อแพะ วิธีการทำคล้ายๆกับแหนมหมู แหนมเนื้อ - “ถ่า”
แปลว่า : รอ - “ฆ่าของ”
แปลว่า : เผด็จศึก (เรื่องอย่างว่า) - “ดน”
แปลว่า : นาน - “ซั่ว”
แปลว่า : โง่, ขี้ขลาด, ชั่ว ใช้กับความหมายในทางลบ - “คำแพง”
แปลว่า : ผู้ซึ่งเป็นที่รัก หรือ แก้วตาดวงใจของพ่อแม่ - “อาดหลาด”
แปลว่า : ต้นไม้ที่สูงและตรง เรียก ซื่ออาดหลาด ยาวอาดหลาด ก็ว่า. - “บักหำ”
แปลว่า : ไอ้หนู - “แฮง “
แปลว่า : แรง, ดัง, มาก - “ควย (ควาย)”
แปลว่า : ควาย - “กิน”
แปลว่า : กิน หมายถึง ทั้งกิน และใช้สอยเรียกกิน กินไม่รู้จักประมาณเรียก กินบ่ช่าง อย่างว่า กินบ่ช่างกินเป็นหนี้ สี้บ่ช่างสี้โค็ยคด ตดบ่ช่างตดขี้ออกนำ กินมาก เรียก กินหลาย อย่างว่ากินหลายท้องแตกแบกหลายหลังหัก. - “กะซาง”
แปลว่า : ก็ช่าง,ไม่ใส่ใจ,ช่างเถอะ
- “บักเวอ”
แปลว่า : ส้มมะงั่ว ชื่ออื่น หมากเหว่อ มะงั่ว ส้มมะงั่ว หมากกินเกิ้ม มะนาวควาย มะนาวริปน มะโว่ยาว ลีมากูบา ส้มโอมะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus medica Linn แหล่งที่พบ พบทุกภาคของประเทศ ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น ตระกูลมะนาว สูงประมาณ 3-10 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามใบเดี่ยวออกสลับ ใบกลมมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบงอขึ้นเล็กน้อยสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ใบหนากว่า ใบมะนาว มีบางใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกสีขาวออกเหลือง ลักษณะมีกลีบดอก 4-6 กลีบ ลักษณะคล้ายดอกของมะนาว มีเมล็ดกลมแต่ขนาดโต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ซม. ผิวเรียบเปลือกหนา รสเปรี้ยวจัด ส่วนที่ใช้บริโภค ใบอ่อน – แก่ ผลดิบ – แก่ การปรุงอาหาร ใบอ่อน นำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ลาบ ใบแก่ นำมาหั่นเป็นฝอย ใส่ลาบเพื่อดับกลิ่นคาว โดยเฉพาะปลาต่างๆ ผลแก่ ใช้ประกอบอาหารแทนมะนาวรสเปรี้ยว แต่กลิ่นหอมน้อยกว่า - “ขี้ค้าน”
แปลว่า : ขี้เกียจ - “หวึ่ง”
แปลว่า : คำที่ใช้เรียกหญิงสาวที่ขี้เหร่ เช่น สาวหวึ่ง อีหวึ่ง - “สวอย”
แปลว่า : หมดเรี่ยวแรง สิ้นกำลัง - “จั่ง”
แปลว่า : ถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น. - “บักปอบ”
แปลว่า : เป็นคำด่า มีที่มาจากคำว่า ปอบ หรือ ผีปอบ ความหมายคล้าย บักห่า บักพาก เป็นต้น - “เซา”
แปลว่า : ที่นั่งทำเป็นคอกสี่เหลี่ยมหรือรูปกลม เรียก เซา สำหรับทำให้เด็กนั่งเล่นแทนเก้าอี้. - “ออนซอน”
แปลว่า : รู้สึกประทับใจ ชอบใจเป็นอย่างมาก ปลื้มปริ่ม - “ฮีตฮอย”
แปลว่า : จารีตประเพณีที่เคยทำสืบต่อๆกันมา - “เว่าหลายยายห่าง”
แปลว่า : พูดพร่ำเพรื่อ, พูดมาก - “คือกัน”
แปลว่า : เหมือนกัน เช่นกัน - “อัญญา”
แปลว่า : เป็นคำแทนชื่อเจ้านาย อีสานสมัยโบราณปกครองโดยอัญญา ๔ คือ เจ้าเมือง อุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ เจ้านายทั้ง ๔ เรียก อัญญา อาชญา ก็ว่า เพราะท่านทั้ง ๔ นี้มีอำนาจเด็ดขาด จะให้คุณให้โทษแ่ใครในสถานใดก็ได้ อย่างว่า เป็นข้าให้เป็นข้าอาชญา เป็นหมาให้เป็นหมาวัด (ภาษิต) สิบพ่อค้ามาไหว้พ่อนา สิบพ่อนาบ่ท่ออา๙ญาเลี้ยง (ภาษิต). - “บักนัด”
แปลว่า : สับปะรด ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus (L.) Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลำต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทำสิ่งทอ ขอบใบมีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เป็นผลไม้ที่มีตาโดยรอบ - “มื้อแลง”
แปลว่า : ตอนเย็น - ภาษาอีสานวันละคำ 2018-12-29 “บ่”
แปลว่า : ไม่ ถ้าคำว่า บ่ อยู่ท้ายประโยค ประโยคนั้นจะเป็นประโยคคำถาม - “ไปเฮ็ดเวียก”
แปลว่า : ไปทำงาน - “มิดจีลี”
แปลว่า : เงียบสนิท - “ขี้ฮ้าย”
แปลว่า : ขี้เหร่, หน้าเกลียด
ทั้งหมดนี้กะคือคำอีสานยอดฮิตที่เฮาได้รวบรวมมาให้เด้อ พี่น้องสามารถกดเข้าไปดูได้ที่ ภาษาอีสานวันละคำ หรือจะกดไลก์ กดติดตามทางอีสานร้อยแปดแฟนเพจของเฮาได้คือเก่าเหมือนเดิม เพราะว่าเราจะนำเสนอภาษาอีสานเป็นประจำทุกวัน กดติดตามเอาไว เพื่อไม่ให้พลาดทุกการอัพเดท และเรียนภาษาอีสานไปด้วยกันครับ