หนองหาร สกลนคร เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุมเขตการปกครองเทศบาลเมืองสกลนคร กับอีก 10 ตำบลของอำเภอเมืองสกลนครและอำเภอโพนนาแก้ว ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ตำบลธาตุนาเวง ตำบลเชียงเครือ ตำบลท่าแร่ ตำบลนาแก้ว ตำบลบ้านแป้น ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลม่วงลาย ตำบลเหล่าปอแดง และตำบลงิ้วด่อน
เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคอีสานตอนบน ในบริเวณที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” มีเทือกเขาภูพานเป็นแนวยาวทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ทิศใต้ และมีพื้นที่ราบอยู่ที่ทิศตะวันออกลาดเอียงเข้าสู่ชายฝั่งแม่น้ำโขง ด้วยเหตุนี้ทำให้จังหวัดสกลนครถือเป็นภูมิประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาหลายยุค ทำให้มีอารายธรรมหลงเหลืออยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพสลักผาหินที่ถ้ำผายนต์ ภาพสลักที่ถ้ำพระด่านแร้ง และภาพเขียนสีที่ถ้ำผักหวาน
นอกจากนี้ ยังปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องสำริด เครื่องโลหะ ตลอดจนภาชนะเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ซึ่งเชื่อว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกับวัฒนธรรมบ้านเชียงในจังหวัดอุดรธานี และมีหลักฐานทางด้านโบราณคดี ตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยมีการพบใบเสมาหิน และพระพุทธรูปสมัยทวารวดีกระจายอยู่จำนวนมาก จึงแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในบริเวณนี้ เคยมีการทิ้งร้างไม่อยู่สักระยะหนึ่ง จนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ชุมชนนี้ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่อีกครั้ง
เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีน้ำเต็มตลอดปี ทำให้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน จึงเป็นที่สร้างบ้านเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังที่ปรากฏตามหลักฐานทางโบราณคดี และบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้ขนานนามชุมชนแห่งนี้ว่า เมืองหนองหารหลวง อีกทั้งยังปรากฎร่องรอยการตั้งถิ่นฐานย้อนหลังขึ้นไปจนถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เป็นดอนเล็กๆ ที่พบว่ามีซากฐานศาสนสถานก่อด้วยศิลาแลง และหินทรายประกอบกัน พอสังเกตเห็นว่าเป็นส่วนมุมของสิ่งก่อสร้างค่อนข้างชัดเจน และด้านเหนือของซากศาสนสถานหลักเสมาหินทรายโผล่เหนือผิวดินขึ้นมา เห็นรอยสลักเป็นยอดแกนสถูปทั้งสองด้าน
เป็นดอนใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของหนองหาร อยู่ห่างจากฝั่งด้านสถานีประมงจังหวัดสกลนคร ประมาณ 7 กิโลเมตร มีฐานศาสนสถานเก่า ขนาดไม่ใหญ่โตนัก 1 แห่ง ก่อด้วยศิลาแลง รอบ ๆบริเวณซากศาสนสถานมีศิลาแลงกระจายเกลื่อนอยู่มากมาย บนซากฐานมีร่องรอยการก่อสร้างเป็นศาสนสถานด้วยอิฐในรุ่นหลังและมีชิ้นส่วนของเสา 8 เหลี่ยมก่อด้วยอิฐฉาบปูน ถัดจากซากศาสนสถานไปทางทิศเหนือเป็นศาลาโถง สร้างใหม่ด้วยไม้ เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาท ซึ่งสลักรอยพระพุทธบาทเป็นมงคล 108 ส่วนในสุดของศาลาโถง มีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปที่ปั้นด้วยปูนขาว 2 องค์
ตั้งอยู่ริมหนองหารสกลนครทางทิศใต้ เป็นบริเวณที่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาค่อนข้างเยอะ มีการพบเนินดินที่สร้างศาสนสถานในสมัยทวาราวดีตอนปลาย และลพบุรีเรื่อยมาจนถึงล้านช้าง โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เนินดินที่มีเสมาหินปักล้อม เป็นเสมาขนาดเล็กที่มีการสลักเป็นพระสถูป พระพุทธรูปตามแบบทวาราวดีตอนปลายและแบบลพบุรี ฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ในสมัยล้านช้าง จึงเห็นได้ชัดว่า ชุมชนบริเวณรอบ ๆหนองหารสกลนครนี้ ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาในช่วงทวาราวดีตอนปลาย ก่อนจะมีการสร้างเมืองหนองหารหลวงขึ้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บริเวณรอบๆหนองหาร จะมีสวนสุขภาพขนาดใหญ่ เรียกกันว่า สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หรือสระพังทอง จัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีพรรณไม้นานาชนิดและการตัดแต่งสวนที่สวยงาม คนในพื้นที่จึงนิยมมาออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจในช่วงเย็นจำนวนมาก
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธิน จนถึงสระบุรี เมื่อมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 107 ให้แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพผ่านนครราชสีมา จนถึง อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 23 ไปจนถึงมหาสารคาม แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ผ่านกาฬสินธุ์ จนถึงสกลนคร
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-สกลนคร ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปลงที่อุดรธานี แล้วเดินทางต่อไปโดยรถประจำทางไปสกลนครอีกประมาณ 159 กิโลเมตร
ดูความคิดเห็น