อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 33 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ ครอบคลุมท้องที่อำเภอโขงเจียมและอำเภอสิรินธร สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ มียอดเขาบรรทัดเป็นจุดสูงสุด มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกสปป.ลาว
คำว่า “ตะนะ” ตามบอกเล่าของชาวบ้านเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “มรณะ” เพราะบริเวณดังกล่าวมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวและมีโขดหินใหญ่น้อย ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ จึงเรียกแก่งแห่งว่า “แก่งมรณะ” ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นคำว่า “แก่งตะนะ”
เป็นดอนหรือเกาะกลางที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะ ทางตอนเหนือมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นในช่วงเช้า ส่วนช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบ ๆ เกาะ
ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 1 กม. เป็นชะง่อนผายื่นเข้าไปในฝั่งแม่น้ำมูล ภายในถ้ำค้นพบศิลาจารึกและแท่นศิวลึงค์ ส่วนของฐานโยนีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งตรงกับช่วงสมัยพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ส่วนศิลาจารึกของจริงได้มีการนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอุบลราชธานี
เป็นจุดท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบค้างคืน เพราะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นลักษณะเดี่ยวกับผาชนะได แต่จะมองเห็นสองข้างของหน้าผา ด้านขาวจะเห็นเขื่อนสิรินธร ด้านซ้ายจะเห็นผืนป่าของสปป.ลาว ด้านหน้าจะเห็นหมู่บ้านของชาวลาวและภูเขาสูงตะง่านสลับ รวมถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงของลาวคือ สะพานปากแซ
เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาตามหน้าผา ผ่านรากไทรริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณแห่งนี้ประกอบด้วยต้นเฟิร์น ตะไคร่น้ำ และมอส ทำให้อากาศเย็นสบายเข้าชมได้ตลอดปี ใครที่สนใจสามารถใช้เส้นทางเดี่ยวกับถ้ำพระ
ดูความคิดเห็น