แก่งกะเบา จ.มุกดาหาร

อีสานร้อยแปดสิพาพี่น้องไปเที่ยวเมืองมุกดาหาร สถานที่ท่องเที่ยวริมฝั่งโขง ที่ขึ้นชื่อของมุกดาหารที่เราจะมานำเสนอในวันนี้คือ “แก่งกระเบา” เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อน ลงเล่นน้ำ (ในหน้าร้อน ที่น้ำไม่เชี่ยว) และรัปประทานอาหาร เพราะบริเวณแก่งกระเบา จะมีร้านอาหารอีสาน เมนูปลาน้ำโขง ขึ้นชื่อหลายร้าน ให้เราเลือกรัปประทานกันได้ตามใจชอบ

ป้ายแก่งกระเบา

การเดินทางมายังแก่งกระเบานั้นไม่ยาก ถ้าหากเพื่อนๆมาสักการะพระธาตุพนม ที่ จ.นครพนม แก่งกระเบาจะอยู่ห่างเพียง 20 กิโลเมตร นั่งรถต่อไปอีกนิดเดียวก็ถึง ใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร (สามารถดูได้จากแผนที่ ที่ทีมงานอีสานร้อยแปด แปะไว้ให้ที่ท้ายบทความ

แผนที่ทางอากาศ แก่งกระเบา

ลักษณะเด่นของแก่งกะเบา คือ มีแก่งหินและโขดหินที่ขวางกั้นแม่น้ำโขง สายน้ำโขงที่ไหลมาจะมากระทบกับแก่งหินและมีการกัดเซาะทำให้เกิดรูปร่างที่ สวยงาม ในบางที่จะเป็นลักษณะเหมือนกับหลุมลึกบางที่ก็จะเป็นลักษณะเหมือนถ้ำใต้น้ำ ซึ่งมีความสวยงามมากในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจมากมาย ทั้งมาทำกิจกรรมภายในครอบครัวหรือแม้กระทั่งมาเล่นน้ำก็ตาม

โขดหิน แก่งกระเบา

ในตัวแก่งกะเบานั้นตรงที่ที่สายน้ำไหลอยู่ตลอดเวลาจะไม่มีตระไคร่น้ำติด เพราะว่าน้ำพัดอยู่ตลอดเวลาแต่ตรงที่น้ำไหลไม่แรงหรือไม่ไหลเลยนั้นควรจะ ระมัดระวังเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

ร้านค้า บริเวณแก่งกระเบา

บริเวณรอบๆ อย่างที่เราบอกตั้งแต่ตอนต้น คือจะมีร้านค้า อาหารอีสานขึ้นชื่อ รสเด็ด ให้เราเลือกรัปประทานกันได้ตามใจชอบ

พระอาทิตย์ ตกดินที่แก่งกระเบา

ในช่วงน้ำลด หรือหน้าหนาว หลายๆคนอาจจะใช้ที่นี่ เป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี ชมพระอาทิตย์ตกน้ำได้ที่แก่งกระเบา ใครจะพาหวานใจไป ก็นับว่าโรแมนติกสุดๆ

เที่ยวแก่งกระเบา
วิวสวยๆ แก่งกระเบา
โขดหิน แก่งกระเบา
ร้านค้า บริเวณแก่งกระเบา
พระอาทิตย์ ตกดินที่แก่งกระเบา
แผนที่ทางอากาศ แก่งกระเบา

แผนที่สำหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวแก่งกระเบา จ.มุกดาหาร

แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"