น้ำตกอ่างเบง

100 กว่าปีที่ผ่านมา ชาวกัมพูชา (เขมร) จากเมืองพระตะบองได้อพยพหนีโรระบาด คือ โรคฝีดาษ เข้ามาทำมาหากินอยู่ที่บ้านแหลมและอพยพมาตั้งรกรากเพื่อทำมาหากินต่อที่บ้านแพรกโอน ปัจจุบันคือบ้านช่องแคบ หมู่ที่ 8 ตำบลฉมันโดยอพยพมาครั้งแรกประมาณ 50 คน มีผู้นำซึ่งเป็นผู้อาวุโส และเป็นที่เคารพนับถือในกลุ่มผู้อพยพชาวเขมรทั้งหลาย ท่านผู้นั้นก็คือ ปู่สุก ปู่สุกได้นำชาวเขมรประกอบอาชีพทำไร่ ปลูกข้าว และล่าสัตว์ ได้ระยะหนึ่ง ก็ย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่น เนื่องจาก จำนวนประชากรเริ่มมากขึ้น และมีชาวชองเริ่มเข้ามาอาศัยทำมาหากินร่วมด้วย ชาวเขมรส่วนหนึ่งจึงย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่น แหล่งทำกินใหม่ที่ชาวเขมรกลุ่มนี้ได้ค้นพบนั้น อุดมสมบูรณ์มากเนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำจึงได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม บ้างก็ทำไร่กระวาน บ้างก็หาไม้หอม โดยแหล่งน้ำนี้เป็นแอ่งธารน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณนั้ก็เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีกลุ่มไม้มะค่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวเขมรกลุ่มนี้จึงตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า อ่างเบง ซึ่งคำว่า เบง ในภาษาเขมร หมายถึง ต้นมะค่า อ่างเบงในภาษาเขมรจึงแปลว่า แหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยต้มไม้มะค่า และเรียกชื่อนี้สืบต่อมาจนกระทั้งทุกวันนี้ แต่ผู้อาวุโสในหมู่บ้านบางคน ก็ได้เล่าขานกันว่า อ่างเบง แห่งนี้เป็นชื่อที่ตั้งมาจาก ภาษาชอง ซึ่งถือว่าเป็นชนพื้นที่ในเมืองจังหวัดจันทบุรี ซึ่งในที่นี้ คำว่า เบง หมายถึง ขนาดใหญ่ อ่างเบง ในภาษาชองจึงแปลว่า แอ่งน้ำขนาดใหญ่ นั่นเอง

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด