บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง ตั้งอยู่ที่ ม.17 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ประชากรอพยพมาจากประเทศพม่า เข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 บริเวณลุ่มน้ำแม่กลางหรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า “แม่กลางคี” มีชนเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่ ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในกลุ่มสะกอ หรือ ยางขาวในภาษาราชการ หรือ ที่รู้จักในชื่อ ปกาเกอะญอ หรือ คานยอ (Kanyaw) อันหมายถึง ผู้มีความสมถะและเรียบง่าย บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลางประกอบด้วยชุมชนย่อย 4 แห่ง คือ ชุมชนบ้านอ่างกาน้อย ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ชุมชนบ้านหนองหล่ม และชุมชนบ้านผาหมอน โดยมีจำนวนครัวเรือนในแต่ละกลุ่มบ้านประมาณ 60 – 80 ครัวเรือน ถือว่าเป็นชุมชนขนาดเล็ก ตัวชุมชนอยู่บนที่ราบสูง แวดล้อมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำแม่กลางไหลผ่าน และลำห้วยระบบหมุนเวียน จึงมีการปรับใช้ที่ดินลาดชันไปเป็นรูปแบบนาขั้นบันได สถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมน่าสนใจที่บ้านแม่กลางหลวง คือ นาขั้นบันได ชมการทำนาขั้นบันไดเป็นการแสดงให้เห็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการใช้พื้นที่และการจัดการน้ำ
ไร่กาแฟอินทรีย์ เป็นการทำไร่กาแฟแบบผสมผสานกับไม้ป่าอื่นๆ เพื่อไม่ทำลายป่าและไม่ใช้ยาฆ่าแมลง บ่อเพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์เทราต์ ชาวบ้านแม่กลางหลวงได้รับความไว้วางใจจากโครงการหลวงในการดูแลบ่อปลาเรนโบว์เทราต์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านแม่กลางหลวง เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

วิถีชีวิตชุมชน, นาขั้นบันได, ภูมิปัญญาชาวบ้านในการใช้พื้นที่และน้ำ

Facebook

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแม่กลางหลวง

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด