เป็นมาบริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามเป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์มาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดค้น และสำรวจ ทางโบราณคดีพบว่าบริเวณบ้านจีต พบอารยธรรมร่วมสมัยกับบ้านเชียง ซึ่ง ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้จัดอยู่ในอารยธรรมกลุ่ม หนองหานกุมภวาปี ในกิ่งอำเภอกู่แก้ว (เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอหนองหาน) นั้นได้พบหลักฐานยุคเดียวอารยธรรมบ้านเชียง จากการศึกษาพบเนินดินขนาดใหญ่ ที่มีภาชนะดินเผาในชนิดต่างๆ รวมทั้งลายเขียนสีแบบบ้านเชียง โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับและเครื่องมือโลหะตลอดจนลูกปัด นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่คล้ายคลึงกับบ้านเชียงแต่มีความแตกต่างกัน เช่น บริเวณบ้านคอนสาย ใกล้เคียงกัน ได้ค้นพบหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ที่แปลกแตกต่างออกไปจากบ้านเชียง ขุดพบโครงกระดูก และเครื่องประดับสำริด นอกจากนี้ยังพบเสมาหินทรายเป็นจำนวนหลายหลักล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างไปจากบ้านเชียงแต่น่าเสียดายหลักฐานจำนวนมากได้สูญหายไปวัดกู่แก้วรัตนาราม เป็นโบราณสถานสมัยขอมที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของอารยธรรมในดินแดนภาคอีสานได้เป็นอย่างดี เมื่อประมาณ 1,000 ปี มาแล้ว อาณาจักรขอมได้แผ่อิทธิพลมาสู่ดินแดนนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอม ได้สร้าง” อโรคยาศาลา ขึ้นทั่วอาณาจักรของพระองค์์โดยอุทิศส่วนกุศลให้กับเทพเจ้าแห่งการแพทย์พระโพธิสัตว์ครุไภษยะ ตามคติความเชื่อของของพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นที่พักของคนเดินทางและรักษาผู้ที่เจ็บป่วย วัดกู่แก้วรัตนารามจึงเป็นหลักฐานสำคัญของศิลปะขอมยุคบายน เป็นปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลง ที่มีลักษณะเดียวกันกับวัดกู่เขตบ้านม้า ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครบริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามนี้ เป็นที่พัก ตามเส้นทางไปสู่เมืองหนองหานน้อย หรือเมืองหนองหาน อันเป็นเมืองโบราณในเขตอีสานตอนบน การสร้างอโรคยาศาลานี้พระองค์ได้อุทิศที่ดิน ทาส และทรัพย์สินให้แก่พระผู้ดูแลเพื่อบำเพ็ญบุญกุศล และสร้างพระพุทธรูปชื่อว่า พระพุทธชัยวรนาถ ไว้ประจำทุกแห่งนักประวัติศาสตร์บาง ท่านกล่าวว่า เพื่อเป็นตัวแทนของพระองค์แสดงถึงอำนาจและอิทธิพลเหนือดินแดนรอบพระนครหลวง (นครธม)ในสมัยล้านช้าง ประมาณ 400 ปีมาแล้ว เมื่ออารยธรรมขอมเสื่อมลงอาณาจักรล้านช้าง ได้มีอิทธิพล เหนือดินแดนนี้ชุมชนไทยลาวอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบล้านช้างจึงมีอิทธิพลต่อศิลปะยุคนี้ ทำให้มีการก่อสร้างเจดีย์และพระพุทธรูปในสมัยล้านช้าง เช่น พระไม้ พระที่ทำด้วยเงิน ฐานเจดีย์ก่ออิฐถือปูน เป็นต้นเมื่อเข้าสู่ยุคปฏิรูปการปกครองอีสานในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของเมืองหนองหานเดิมก็ไปขึ้นกับมณฑลอุดร ประมาณ 80 ปีที่ผ่านมามีการอพยพของประชากรจากอีสานตอนกลางและตอนล่างเข้ามาอาศัยอยูในตำบลบ้านจีต ได้ก่อสร้างธรรมศาลาศาลาทับปราสาทเดิมและสร้างอุโบสถตามแบบช่างพื้นเมือง ศิลปะแบบกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้เข้ามาแทนที่ได้แก่พระพุทธรูปแบบสุโขทัยและอุโบสถแบบภาคกลาง