วัดปรางค์หลวง

วัดปรางค์หลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1890 (แต่หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมศาสนา ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ. 1908) สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เดิมชื่อ วัดหลวง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น วัดปรางค์หลวง มีโบราณสถานสำคัญเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ดังนี้ พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารน้อย ลักษณะองคก่ออิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีร่องรอยการบูรณะในสมัยหลัง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก มีการขุดเจาะกลางเรือนธาตุเห็นเป็นกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอด ปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนฐานชำรุดลงเกือบทั้งหมดจนมองไม่เห็นลักษณะเดิม หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปโดยไม่รู้จักคุณค่า เมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นนพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงามเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการและปิดทองประจำปีในเดือนมิถุนายน ใบเสมา มีขนาดใหญ่ทำจากหินชนวน (คนในชุมชนเรีบกว่า หินกาบ) ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินเป็นลักษณะใบเสมา สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เดิมมีรายรอบพระอุโบสถหลังเก่าอยู่จำนวนหลายใบ แต่ถูกทุบทำลายไปพร้อมกับอุโบสถหลังเก่า ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ใบเท่านั้น พระวิหารน้อย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าพระปรางค์ ตามประวัติว่าสร้างขึ้นพร้อมกับปรางค์ สภาพปัจจุบันปรากฎลักษณะเป็นอาคารไม้ก่ออิฐถือปูน จำนวน 2 หลัง ชำรุดมากเหลือเพียงผนังมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม สำหรับปูชนียวัตถุ มีประธานในอุโบสถ นามว่า หลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก 9 คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมาสักระบูชา

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด