วัดสามแก้ว เป็นวัดสายธรรมยุติกนิกาย ชื่อวัดสามแก้ว คนเก่าแก่เล่ากันต่อมาว่า ย้อนหลังไปประมาณ 70-80 ปี บริเวณภูเขาแห่งนี้กลางคืนปรากฏเป็นดวงแก้วรัศมีสีนวล 3 ดวงลอยขึ้นจากยอดเขาช้าๆ แล้วกลับหายสู่ท้องฟ้าปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ปรากฏขึ้นเป็นประจำจนชาวบ้านถือเป็นเรื่องปกติ และเชื่อว่าดวงแก้วทั้งสามดวงนั้น คือสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัยหรือแก้ววิเศษ 3 ประการ ที่ยังความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ที่ตั้งวัดสามแก้วแห่งนี้ เคยขุดพบลูกปัดต่างๆ และกลองมโหระทึก ลักษณะคล้ายกับที่พบบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัด สุราษฏร์ธานี กรมศิลปากรได้ประมาณอายุว่า มีอายุประมาณ 1,700-2,000 ปี จึงสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเนินเขาที่ตั้งวัดสามแก้วนี้อาจเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดสามแก้ว เขียนขึ้นระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2471 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2472 โดยอำมาตย์ตรีพระยาอนุศาสตร์จิตรกร ช่างเขียนมีชื่อในรัชกาลที่ 7 เป็นภาพเรื่องราวพุทธประวัติ และภาพของเทพเจ้าต่างๆ อันเนื่องด้วยคติพราหมณ์ ผสมผสานกับคติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นจิตรกรรมที่ผสมผสานระหว่างภาพไทยโบราณ และให้แสงเงาแบบศิลปะตะวันตก จากลักษณะฝีมือ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะตะวันตกในยุคนั้น ที่คนไทยรับเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีข้อความบันทึกไว้ในโบสถ์เกี่ยวกับการเขียนภาพเหล่านี้ว่า มหาเสวกตรีพระยาอนุศาสตร์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) รับช่วยพระธรรมวโรดมฯ