วัดแจงร้อน เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอู่ทอง หรือลพบุรี ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเดิมว่า วัดหงษ์ร่อน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดแจงร้อน ภายในวิหารหลวงจะเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อวิหารแดง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิทำมาจากศิลาแลงสีแดง บริเวณกรอบหน้าบันพระหารด้านนอกเป็นกรอบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย ลายปูนปั้นบนซุ้มประตูหน้าต่างพระอุโบสถ มีทั้งหมด 14 บาน ปั้นขึ้นประมาณสมัต้นรัชกาลที่ 7 เป็นลายปูนปั้นรูปผลไม้ เช่น ทับทิม น้อยหน่า มะม่วง สับปะรถ ลายสัตว์น้ำ เช่น กบ ปลาทอง ปลาหมึก ปลาตีน ปู และลายสัตว์อื่นๆ เช่น กระต่าย ค้างคาว ช้างสามเศียร แพะ หมาจู ลวดลายเหล่านี้ทำได้แปลกตาและปราณีตงดงาม มีตู้พระธรรม มีจำนวน 2 ใบ เป็นของเก่าแก่โบราณทำขึ้นในสมัยรัชการที่ 1 ส่วนศาลาการเปรียญสร้างขึ้นเมื่อปี 2470 ที่หน้าบันทำเป็นลายปูนปั้นหมูป่ากำลังโผล่หน้าออกมาจากปากถ้ำ โดยประดับด้วยกระจกสีเป็นรูปป่า