ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนครนายก

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนครนายก ความน่าประหลาดของเสาหลักเมืองนครนายกคือมีสองเสา เข้าไปจะเห็นทั้งของเก่าและใหม่ประดิษฐานคู่กัน ถ้าสงสัยว่าอันไหนคืออันเก่าก็บอกให้เลยว่าเสาที่เตี้ยกว่านั่นไง แต่ผู้คนก็ไหว้สักการะปิดทองงามอร่ามทั้งคู่ โดยเสาหลักเมืองเก่าเคยประดิษฐานอยู่ที่คูเมืองเดิม พอศาลเก่าทรุดโทรมลงตั้งแต่เมื่อร้อยปีมาแล้วก็ย้ายเสาหลักเมืองไปประดิษฐานที่โรงเรียนศรีนครนายก ก่อนจะสร้างศาลหลังใหม่ทดแทนในเวลาต่อมา
ในศาลหลักเมืองยังเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองอีกด้วยเลยเรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายก ภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามศาลจังหวัดนครนายก
เสาหลักเมืองจังหวัดนครนายกได้รับการปฏิสังขรณ์และบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง เสาหลักเมืองเดิมมีลักษณะเป็นเสาไม้ยาว ๑ เมตรเศษ ด้านปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม ซึ่งเสาเก่านั้นเคยประดิษฐานอยู่ที่คูเมืองเดิม บริเวณกำแพงเมืองเก่า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณบ้านพักผู้ช่วยที่ดินจังหวัด, ศูนย์บริการสาธารณสุข, เทศบาลนครนายก สภาพศาลหลักเมืองเก่าทรุดโทรมลงตามกาลเวลาด้วยอายุราวร้อยกว่าปีมาแล้ว ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ทางราชการได้เห็นว่าศาลหลักเมืองมีความชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากจึงได้ย้ายศาลหลักเมืองไปประดิษฐานที่ตึกแดง โรงเรียนศรีนครนายก ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครนายก และในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำนครนายก ภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ ๙ ใกล้ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองนครนายก
ปัจจุบันเสาหลักเมืองจังหวัดนครนายกได้รับการปฏิสังขรณ์และบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง เสาหลักเมืองเดิมมีลักษณะเป็นเสาไม้ยาว ๑ เมตรเศษ ด้านปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม ซึ่งเสาเก่านั้นเคยประดิษฐานอยู่ที่คูเมืองเดิม บริเวณกำแพงเมืองเก่า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณบ้านพักผู้ช่วยที่ดินจังหวัด, ศูนย์บริการสาธารณสุข, เทศบาลนครนายก สภาพศาลหลักเมืองเก่าทรุดโทรมลงตามกาลเวลาด้วยอายุราวร้อยกว่าปีมาแล้ว ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ทางราชการได้เห็นว่าศาลหลักเมืองมีความชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากจึงได้ย้ายศาลหลักเมืองไปประดิษฐานที่ตึกแดง โรงเรียนศรีนครนายก ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครนายก และในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำนครนายก ภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ ๙ ใกล้ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองนครนายก

ปัจจุบันภายในศาลหลักเมืองนครนายกจึงมีเสาหลักเมือง ๒ เสา โดยได้นำทั้งเสาเก่า โดยมีนามว่า “หลักเมืององค์ใต้” และเสาใหม่ มีนามว่า “หลักเมืององค์เหนือ” มาประดิษฐานคู่กัน และได้สร้างศาลหลักเมืองเป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย หลังคาเป็นยอดปรางค์ มีประตูทางเข้า-ออกทั้ง ๔ ทิศ หลังคาซ้อนสองชั้นเป็นช่อฟ้า หน้าบันแกะสลักไว้อย่างสวยงาม ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง เพื่อความสง่างามและเป็นมงคลคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครนายกมาจวบจนทุกวันนี้โดยได้นำทั้งเสาเก่า โดยมีนามว่า “หลักเมืององค์ใต้” และเสาใหม่ มีนามว่า “หลักเมืององค์เหนือ” มาประดิษฐานคู่กัน และได้สร้างศาลหลักเมืองเป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย หลังคาเป็นยอดปรางค์ มีประตูทางเข้า-ออกทั้ง ๔ ทิศ หลังคาซ้อนสองชั้นเป็นช่อฟ้า หน้าบันแกะสลักไว้อย่างสวยงาม ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง เพื่อความสง่างามและเป็นมงคลคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครนายกมาจวบจนทุกวันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ภายในศาลหลักเมืองนครนายกจึงมีเสาหลักเมือง ๒ เสา หน้าบันแกะสลักไว้อย่างสวยงาม ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง เพื่อความสง่างามและเป็นมงคลคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครนายก

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด