หมู่บ้านจักสาน บ้านตลาดใหม่

เมื่อปี 2526 ได้รวบรวมชาวบ้านที่จักสานเครื่องมือ เครื่องใช้ ในหมู่บ้านประมาณ 15 คน จัดตั้งเป็นกลุ่มจักสานขึ้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตลาดใหม่ เพื่อเป็นการสร้างงานและเสริมสร้างรายได้แก่ครอบครัวและชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเป็นผู้คิดค้น ดัดแปลงรูปแบบของตะกร้าในสมัยโบราณ ให้มีรูปทรงแบบใหม่ที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในยุคสมัยปัจจุบัน เช่น การจักสาน ตะกร้าหูหิ้ว ตะกร้าหกเหลี่ยม ปั้นน้ำชา โคมไฟ ของจิ๋ว ของโชว์ กระเป๋าหิ้วหลายรูปแบบ เช่น ทรงเม็ดตาล ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมาก การผลิตไม่เพียงพอกับการจำหน่าย ซึ่งกระเป๋าทรงเม็ดตาล นางสาววรรณา ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีลวดลาย รูปแบบที่แปลก แตกต่างจากแบบเดิม โดยได้แนวคิดและรูปแบบจากเม็ดตาลสดที่ชาวบ้านนำมาบริโภคว่าสามารถนำมาทำเป็น รูปทรงของกระเป๋าได้ โดยใช้วัสดุไม้ไผ่กับหวาย ต่อมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งหวายได้ขาดตลาดและมีราคาแพง จึง ได้คิดค้นวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือใบลานมาจักสานร่วมกับไม้ไผ่ จึงเป็นคนแรกที่คิดทำขึ้นและได้จดสิทธิบัตรเป็นภูมิปัญญาไทย เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นของตนเอง สามารถทำลวดลายต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ลายดอกไม้ สัญลักษณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว แต่ความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ความชำนาญพิเศษในการแกะลาย ทั้งนี้ จากความสามารถดังกล่าว จังหวัดอ่างทอง ได้คัดเลือกให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจักสานตำบลตลาดใหม่เป็นผู้จัดทำกระเป๋า จักสานจากไม้ไผ่ขนาดยักษ์ เพื่อตั้งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอ่างทองที่ศูนย์แสดงของดีเมืองอ่างทอง บริเวณวัดชัยมงคล อำเภอเมืองอ่างทอง

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด