หลวงพ่อพระเสี่ยง

พระสุก ,พระเสี่ยง พระพุทธรูปเหล่านี้กล่าวกันว่าได้นำมาจากเมืองลาวในเวลาแตกต่างกัน ในคราวสงครามระหว่างไทยกับลาว การทำสงครามในสมัยก่อนจะยึดพื้นที่แล้วกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินของผู้แพ้ไปด้วย ความเป็นมาของหลวงพ่อองค์ต่างๆที่กล่าวมานี้ มีหนังสือตำนานอ้างอิงกล่าวไว้หลายเล่ม มีประวัติโดยละเอียด ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะหลวงพ่อพระเสี่ยงเท่านั้นตามตำนานหลายเล่มเขียนไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของธิดาเจ้าเมืองล้านช้าง เมืองหลวงพระบาง เดิมชื่อเสียงแต่จะเป็นวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ แต่เป็นพระพุทธรูปที่มีอยู่ในเมืองหลวงพระบาง มานานหลายสมัยสืบทอดกันมา เนื่องจากการรบราฆ่าฟันกัน พระพุทธรูป (องค์นี้) จึงได้ตกมาอยู่เมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2321 (สมัยรัชการที่ 1) ไทยยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ พระเจ้าธรรมวงศ์แห่งเวียงจันทน์นำพระเสี่ยงไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ต่อมาได้นำไปไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาปีพ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่สาม เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฏ ทางกรุงเทพฯได้ส่งกองทัพไปปราบ ฝ่ายลาวรู้ว่าทางกองทัพไทยเข้ามาตีเอาเวียงจันทน์ จึงมีผู้นำเอาพระเสี่ยงไปหลบซ่อนไว้ในถ้ำภุเขาควายใกล้เมืองมหาชัยเสียก่อน
เมื่อปีพ.ศ. 2400 กิติศัพท์ข่าวลือเกี่ยวกับอภินิหารของพระเสี่ยงได้ทราบไปถึงพระกรรณของพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอญู่หัว แห่งประเทศไทย จึงได้ส่งราชเสวกซึ่งเป็นเชื้อชาติลาว ชื่อ “โสฌังกูร” ไปยังแค้วนลาวด้วยพระราชกรณียกิจบางอย่าง ไปถึงเมืองมหาชัย จึงอ้างพระบรมราชโองการอัญเชิญเอาพระพุทธรูปที่สำคัญ มาพ้รอมกัน มีพระใส พระแสน พระเสริม พระสุก และพระเสี่ยงใส่แพลองมาตามลำน้ำงึม ขณะที่ล่องแพมานั้น เมื่อมาถึงปากน้ำงึมกลางแม่น้ำโขง พระสุกได้แสดงอภินิหารเกิดพายุแรง แพแตก พระสุกจมลงกลางแม่น้ำโขง ตรงบ้านปากเป อำเภอโพนพิสัย พวกเราจึงไม่เคยเห็นพระสุก จะเป็นองค์เล็กองค์ใหญ่ ไม่มีใครจดบันทึกไว้ ต่อจากนั้นก็นำเอาพระใส พระแสน พระเสริม และพระเสี่ยงใส่แพขึ้นมาตามลำน้ำโขงจนถึงเมืองโพนพิสัยก็เลยเอาพระเสี่ยงประดิษฐานไว้ที่วัดมณีโคตร ต.จุมพล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เมื่อ๑๐๐ปี มีผู้คิดจะเอาพระเสี่ยงไปไว้ที่กรุงเทพฯ ในสมัยนั้นรถก็ไม่มี จึงได้อัญเชิญพระเสี่ยงขึ้นหลังช้าง พระเสี่ยงก็ได้แสดงอภินิหารให้ช้างหนักจนไปไม่ได้ พระเสี่ยงตกจากหลังช้าง เป็นเหตุให้หูหัก เกษคด คือท่านไม่อยากไปอยู่ที่อื่นก็เป็นได้

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด