หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของอาจารย์ในภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพา) สมัยที่ยังสังกัดอยู่ในภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม เป็นความต้องการให้ภาคตะวันออก มีหอศิลป์เป็นของตนเองเพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แสดงถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แสดงถึงแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก ได้มีการรวบรวมประวัติความเป็นมาของพื้นที่ด้านตะวันออกของสยามประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา และประชาชนทั่วไป ถ้าจัดตามประเภทของแหล่งการเรียนรู้แล้ว หอศิลป์ จัดเป็น แหล่งการเรียนรู้ประเภทสิ่งมนุษย์สร้างขึ้น หอศิลปะ และวัฒนธรรมภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพา ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ความเป็นมาของอารยธรรมตะวันออก ให้แก่ผู้ที่เข้าชม ได้ทราบเรื่องราวและประวัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำรงชีวิต ของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ รวมถึงได้ทราบกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินในภาคตะวันออก เหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ชื่นชอบศึกษาประวัติศาสตร์ของเรา และที่นี่เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของอาจารย์ในภาควิชาศิลปะ และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน สมัยที่ยังสังกัดอยู่ในภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม เป็นความต้องการให้ภาคตะวันออกมีหอศิลป์เป็นของตนเองเพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป วัฒนธรรมภาคตะวันออกพบว่ามีคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่า เอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วนชาวญวน อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิมอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด