อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นอุยานที่แสดงถึงอารายธรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่ เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ
พระพุทธบาทบัวบก อยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2436-2477 คำว่า “บัวบก” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ชาวบ้านเรียกว่า “ผักหนอก” บัวบกนี้จะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาทจึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า “พระพุทธบาทบัวบก” หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาท มีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นที่หินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนมมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันที่ 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระพุทธบาทหลังเต่า อยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นดิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัวกลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื้องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึ้งได้ชื่อว่า “พระพุทธบานหลังเต่า”
เป็นเพิงหินที่มีลักษณะแปลกตา -ลักษณะเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง -เป็นแหล่งรวมภาพเขียนสีที่ใหญ่สุดในประเทศ -เป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีและธรณีวิทยา