เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน เพื่อช่วยให้ราษฎรทางตอนล่างมีน้ำใช้ทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นเป็นประจำทุกปีเพื่อการอุตสาหกรรม และเพื่อการแก้ไขพื้นที่ดินเปรี้ยวอีกด้วย
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน โดยสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่ชลประทาน ได้ 185,000 ไร่ ด้วยโครงการท่าด่านเดิม 6,000 ไร่ โครงการท่าด่านส่วนขยาย 14,000 ไร่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก 165,000 ไร่
2. เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรม
3. เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดนครนายก
4. เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในเขตจังหวัดนครนายก
1) เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ ประกอบด้วย
(1) เขื่อนหลัก (Main Dam)
เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร ระดับสันเขื่อน+112 ม.รทก. ความยาว 2,594 เมตร ปริมาตรคอนกรีตบดอัด 5,470,000 ลูกบาศก์เมตร
(2) อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,454 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผ่านช่องระบาย 4 ช่อง มีรูปลักษณะเป็นฝายที่ระดับ +103.50 ม.รทก. ซึ่งควบคุมด้วย Radial Gate 4 ชุด ขนาดชุดละ 10.00 x 8.40 เมตร
(3) อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ควบคุมอัตราการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.00 x 5.00 เมตร และButterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร โดยมีระดับธรณีท่อ +28.50 ม.รทก. ระบายผ่านท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร และควบคุมการปล่อยลงท้ายน้ำด้วย Hollow Jet Valve Ø 1.80 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 42 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
(4) อาคารระบายน้ำ (Bottom Outlet)
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระดับธรณี +29.00 ม.รทก. ระบายน้ำผ่านช่องขนาดกว้าง 5.0 เมตร สูง 3.0 เมตร ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.50 x 3.90 เมตร และ Radial Gate ขนาด 2.50 x 3.45 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 182.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งสามารถลดระดับน้ำจากระดับเก็บกักที่ + 110.00 ม.รทก. ลงมาที่ระดับ+70.00 ม.รทก. ภายใน 10 วัน
(5) อาคารส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน (lrrigation Outlet)
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำผ่านท่อสแตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.90 เมตร จำนวน 1 ท่อ มีระดับธรณี +38.45 ม.รทก. ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร รวม2 ชุด ระบายน้ำลงคลองชลประทานโดย Hollow Jet Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร (2 ชุด) สามารถส่งน้ำเข้าคลองได้รวม 6.05 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
(6) อาคารผันน้ำระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ประกอบด้วย
ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม ขนาดสูง 12.00 เมตร ระดับสันทำนบ +39.00 ม.รทก. กว้าง 5.00 เมตร ความยาวรวม1,084 เมตร
อาคารคอนกรีต Retaining Wall ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ขนาดความสูง 12.00 เมตร และ 13.00 เมตร ตามลำดับ
อาคารผันน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ 2 ช่อง ขนาด 7.00 x 9.00 เมตร และ 6.00 x 9.00 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (Return Period 20 ปี) โดยมีระดับธรณี +27.00 ม.รทก.
(7) เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)
เป็นเขื่อนดินสูง 46.0 เมตร สันเขื่อนที่ระดับ +114 ม.รทก. กว้าง 8.0 เมตร ยาว 350 เมตร ปริมาตรเขื่อน 1,220,000 ลูกบาศก์เมตร
2) ระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ ประกอบด้วย
(1) พื้นที่โครงการท่าด่านเดิมและส่วนขยาย รวม 20,000 ไร่
(2) พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก 165,000 ไร่
ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ รวม 185,000 ไร่
2. ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค 16 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี
3. เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5,400 ครัวเรือน
4. บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว
5. ลดความเสียหายจากอุทกภัย ได้ร้อยละ 35
เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น มีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวอ่างฯ ที่ระดับเก็บกักปกติรวม 3,087 ไร่
-เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่
-นั่งเรือล่องแก่ง
-ชมทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน
-พื้นที่ทางการเกษตร