เมืองเก่าท่าสองยาง

เมืองเก่าห้วยลึก ตั้งอยู่บริเวณห้วยลึก ห้วยธาตุ ริมฝั่งแม่น้ำเมย ทางทิศใต้ของชุมชนแม่ต้าน สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองฉอดเก่า
จากการสำรวจของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2502 พบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าด้านทิศใต้บ้านแม่ต้านริมฝั่งแม่น้ำเมย ภายในเมืองโบราณมีแนวเทินดิน มีคูคั่นเป็นกำแพงเมืองโบราณ ทางด้านทิศตะวันตกมี 3 ชั้น มีโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ 10 แห่ง บ่อน้ำสี่เหลี่ยมกรุอิฐ ลึกประมาณ 20 เมตร 1 บ่อ ลานกว้างบนยอดดอยมีพระเจดีย์แบบเชียงแสน 1 องค์
นอกจากนี้ยังพบก้อนอิฐที่ส่วนมากเป็นแบบสุโขทัย มีอิฐแบบอยุธยาปนอยู่บ้าง ไม่มีปูนสอ รอบโบสถ์พบกองอิฐวางประจำอยู่ทิศทั้ง 8 เหมือนกับที่พบที่โบราณสถานที่บางแห่งในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใบเสมาพบแผ่นเดียวที่ดอยพระธาตุ พบแผ่นสัมฤทธิ์มีลวดลายสำหรับประดับองค์ระฆังแบบเชียงแสน พบพระพุทธรูปแบบสัมฤทธิ์แบบเชียงแสนหลายองค์
ภายในบริเวณเมืองเก่ามีศาลเจ้าอโมกขละ มีวัดเก่าที่ร้างหลายแห่ง และมีเจดีย์เก่าที่สำคัญ คือ พระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก ได้บูรณะหลายครั้งเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2412 มีชาวกะเหรี่ยงชื่อ นายพะสุแฮ ได้ศรัทธาทำการบูรณะพระเจดีย์องค์นี้จนเป็นผลสำเร็จ
ต่อมาปี พ.ศ. 2470 พระอภิชัย (ปี๋) หรือ ประขาวปี๋ ได้บูรณะขึ้นใหม่โดยทำเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันที่ 19 เมษายนของทุกปี เรียกว่า วันน้ำทิพย์
ของชาวบ้านแม่ต้านบริเวณใกล้เคียงเรียกว่า โบราณสถานทุ่งกากอก พบโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ มีผู้พบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ แบบเชียงแสนกว่า 400 องค์ กำแพงก่อเป็นเทินดิน 2 ชั้น มีคูคั่นหนอง ซึ่งเชื่อกันว่าขุดเอาดินไปทำอิฐ อิฐที่โบสถ์ วิหาร และเจดีย์เป็นแบบสุโขทัย เนื้อข้าวไม่มีแกลบก่อด้วยปูนสอ พบก้อนหินอยู่รอบโบสถ์ซึ่งเข้าใจว่าใช้แทนใบเสมา

ข้อมูลเพิ่มเติม

กำแพงคูเมือง โบสถ์ พระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก พระเจดีย์ ซุ้มพระพุทธรูปก่ออิฐทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานชุกชี วัดริมเมย วัดวังต้อม และวัตถุเครื่องใช้

Facebook

อบต.แม่ต้าน

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด