เกษตรอีสาน

การปลูกข่า พืชสวนครัวที่ทุกบ้านต้องมี

สวัสดีพี่น้องทุกท่าน วันนี้เกษตรอีสานมาเว่ากันในเรื่อง การปลูกข่า ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข่าในครัวเรือน หรือการปลูกข่าเพื่อเป็นอาชีพ ข่า เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง มีลักษณะเป็นเหง้าเหมือนกับขิง มีรสชาติที่ร้อน ซึ่งในการประกอบอาหารอีสานหลากหลายเมนู จะมีข่าเป็นส่วนประกอบ เพื่อที่จะดับกลิ่นคาวของอาหาร เพื่อให้กลิ่นของอาหารมีกลิ่นที่หอมน่ารับประทาน ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารไทยส่วนใหญ่ที่ปรุงออกมาแล้วนั้นมีส่วนผสมของข่าด้วยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ ลาบ หรือยำบางเมนูที่ต้องใช้ข่าเป็นส่วนผสม

ข่า
ข่าอ่อน

ด้วยเหตุนี้ “ข่า” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากทีเดียว การซื้อขายข่าเริ่มมีมากยิ่งขึ้น จนชาวบ้านหรือชาวสวนบางท่านเอาการปลูกข่าเป็นอาชีพกันมากยิ่งขึ้นบางคนปลูกเป็นสวนใหญ่เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว หรือบ้านไหนที่ปลูกข่าอยู่แล้วก็สามารถนำมาขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกหนึ่งทาง ซึ่งการปลูกข่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด แถมยังดูแลง่ายอีกด้วย เพราะข่าไม่ใช่พืชที่จะตายได้ง่ายๆ

เครื่องต้มยำ

การเตรียมดินในการปลูกข่า

พื้นที่หน้าดินในการปลูกข่าควรจะเป็นพื้นที่สูงในระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการเน่าของเหง้าที่ใช้ปลูก ทำการพรวนดินด้วยมูลสัตว์ เศษใบไม้ หรือเศษฟางให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ทำการขุดหลุมให้ลึกลงไปไม่ลึกมากนักแค่ประมาณ 10 เซนติเมตรเท่านั้นพอ ในการขุดดินเพื่อเตรียมฝังเหง้าลงไป อย่าลืมว่าต้องขุดให้ระยะห่างที่พอดี เพราะเมื่อต้นและใบเริ่มสูงขึ้นมา การเจริญเติบโตจะได้ไม่ดูเบียดกันมากจนเกินไป

ต้นข่า

การเตรียมต้นพันธุ์ข่า

ในการปลูกข่าเราต้องใช้แง่ง หรือเหง้าเป็นการขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ควรใช้เหง้าที่มีลักษณะแก่จัด เพราะถ้าใช้เหง้าอ่อนจะงอกได้ช้า ล้างให้สะอาดและตัดแต่งให้เรียบร้อยก่อนที่จะปลูกลงดิน หลังจากที่ทำการเตรียมดินเรียบร้อยแล้วก็สามารถเอาเหง้าของข่าปลูกลงไปในดินได้เลย สำหรับการกลบดินนั้น ควรจะนำใบไม้แห้งมากลบเอาไว้ด้วยเพื่อรักษาความชื้น ต้นกล้าจะได้โตเร็ว การกลบดินควรกลบขึ้นมาให้นูนเล็กน้อยเหมือนหลังเต่า เพราะหลังจากการปลูกแล้วต้องรดน้ำทันที ดินก็สามารถยุบตัวลงไปได้อีก

ต้นพันธุ์ข่า

การบำรุงดูแลข่า

ควรรดน้ำเป็นประจำทุกวัน ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝน ฝนตกตลอดทั้งวันอาจจะเว้นไปบ้าง ถ้าอยากให้โตเร็วก็ใส่ปุ๋ยลงไปแต่ไม่ต้องมากนัก เพราะมันปลูกง่าย แค่เพียงหมั่นรดน้ำก็โตได้ในเวลาไม่นาน

การดูแลข่า

การเก็บเกี่ยวขุดหัวข่า

ในการปรุงอาหาร เราจะใช้หัวหรือเหง้าของข่าในการปรุงอาหาร สามารถทำได้ด้วยการขุดขึ้นมาจากพื้นดิน เมื่อต้นโตเต็มที่แล้วเราสามารถขุดลงไปในพื้นดินแล้วจะได้เหง้าข่าที่นำมาปรุงอาหารกันต่อไป เราจะไม่ใช้ส่วนของต้นหรือใบที่งอกออกมาจากพื้นดินมารับประทาน รสชาติที่เผ็ดร้อนของข่าช่วยให้อาหารไทยทุกเมนูนั้นน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เสน่ห์ของเครื่องปรุงที่มาจากธรรมชาติทำต่างชาติหลายชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในไทย ได้หลงใหลในอาหารไทยกันมากยิ่งขึ้น ใครที่มีแผนปลูกผักราคาดี การปลูกข่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าลองมากทีเดียว

หัวข่า

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ

  • ผักพื้นบ้าน กรมส่งเสริมการเกษตร
  • การปลูกข่า
  • กลุ่มแม่บ้านชุมชนอารมณ์ดี อำเภอทับคล้อ จ.พิจิตร

ประกาศซื้อขายพันธุ์ข่าและอุปกรณ์ได้ที่ เว็บบอร์ดโสเหล่อีสานร้อยแปด ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

หัวข่า
ต้นพันธุ์ข่า
ต้นข่าอ่อน
ต้นข่า
ดอกข่า
ข่าอ่อน
ข่า
การดูแลข่า
เครื่องต้มยำ
แชร์
พลอยสีเทา

สาวบ้านนา โตมาด้วยลำแข้ง สายเลือดความเป็นอีสานของพ่อ....พร้อมแชร์ข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมอีสาน ชื่นชอบในอาหารอีสานรสจัดๆ พร้อมแชร์ข้อมูลดีดีให้ทุกคนได้เข้าถึงความเป็นอีสานด้วยกัน