หมวดหมู่ : เกษตรอีสาน

การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คือ ข้าวโพดที่ปลูกนำเอาฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่มีเมล็ดมาบริโภคในรูปของฝัก (ภาษาอังกฤษเรียกว่า baby corn) ส่วนใหญ่การปลูกข้าวโพดในปัจจุบัน ได้แก่ การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน เนื่องจากข้าวโพดฝักอ่อนถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการสูง นอกจากทานเป็นผัก

การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

สภาพพื้นที่

พื้นที่ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ควรอยู่ในเขตชลประทานหรือใกล้แหล่งน้ำสะอาดที่สามารถระบายน้ำได้ดี เพราะข้าวโพดฝักอ่อนทุกชนิดสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มีการระบายน้ำได้ดี

ลักษณะดิน

ควรเป็นดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5 – 7.0 มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่า 1.5 % มีฟอสฟอรัสไม่ต่ำกว่า 20 ส่วนในล้าน มีโพแทสเซียมไม่ต่ำกว่า 100 ส่วนในล้านส่วน

สภาพภูมิอากาศ

โดยทั่วไปข้าวโพดเจริญเติบโตได้ดีในอุณภูมิ 10 – 40 องศาเซลเซียล แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 27 องศาเซลเซียล หากอุณหภูมิกลางวันสูงและกลางคืนต่ำ มีแสงแดดจัด การออกดอกจะเร็วขึ้น ถ้าปลูกในฤดูที่มีความยาวของกลางวันน้อยกว่า 12 ชั่วโมง

แหล่งน้ำ

ควรเป็นแหล่งน้ำสะอาดและต้องมีที่ระบายน้ำได้ดี

การเตรียมดิน

ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ แล้วทำการไถแปร หรือ พรวนดินให้ร่วนอีก 1-2 ครั้ง จากนั้นก็ทำร่องหรือแถวปลูก

ฤดูที่เหมาะกับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

นิยมปลูกกันในฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นๆ ควรปลูกในแหล่งที่มีระบบการชลประทานที่ดี หรือมีแหล่งน้ำสมบูรณ์

วิธีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน

  • ระยะปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่เหมาะสมคือ ระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 3 ต้น หรือระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร หลุมละ 2 ต้น โดยปลูกลึกประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร และไม่ควรหยอดลึกเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้า แต่ถ้าหยอดตื้นเกินไป เมล็ดก็จะไม่งอกเลย และอาจถูกนกหรือหนูทำลายได้
  • หากเป็นดินเหนียว ควรหยอดเมล็ดให้ตื้นกว่าดินทรายเล็กน้อย ถ้าใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น พันธุ์เชียงใหม่ 90 รังสิต 1 จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับเมล็ดพันธุ์หวานจะใช้ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้ต้นข้าวโพดประมาณ 19,000 ต้นต่อไร่ แต่ถ้าปลูกแบบยกร่องจะได้เพียง 14,600 ต้นต่อไร่ เพราะต้องหักพื้นที่ของร่องน้ำ และทางเดินออก

การกำจัดวัชพืช

จะต้องทำการถอนหญ้าพร้อมกับการกลบปุ๋ยและพูนโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โค่นล้ม และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มไดโคฟอล เพื่อกำจัดหนอนเจาะต้น

การให้ปุ๋ย

ข้าวโพดฝักอ่อน มีการสะสมธาตุอาหารหลักในส่วนของฝักอ่อนมากกว่าส่วนอื่นๆ ความต้องการธาตุอาหารจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ของฝัก ในดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันต่อไร่ 75 – 100 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมตอนปลูก และปุ๋ยไนดตรเจนอัตรา 10 – 15 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวเมื่อมีอายุ 25 – 30 วัน

ส่วนในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ให้ใช้ไนโตรเจนอย่างเดียวอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งในขั้นเตรียมดิน และเมื่ออายุ 25 วัน ควรใส่ 1 – 2 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสำคัญ

การให้น้ำ

ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้น ควรให้น้ำทุกวัน แต่ครั้งละไม่มาก ทำเช่นเดียวกับการให้น้ำผัก และเว้นระยะห่างขึ้น เมื่อต้นใหญ่สมบูรณ์ดีแล้ว

เทคนิคการปลูก

เมื่อข้าวโพดฝักอ่อนเจริญเติบโต ประมาณ 38-45 วัน จะเกิดช่อดอกตัวผู้ ซึ่งอยู่ระหว่างใบธง เกษตรกรก็จะดึงช่อดอกตัวผู้ออก ก่อนที่ช่อดอกจะคลี่บาน หลังจากดึงออก จะทำให้ฝักอ่อนที่เกิดจากช่อดอกตัวเมีย มีการเจริญเติบโตดี

การไว้จำนวนฝักอ่อนจะเก็บได้ 1-3 ต่อต้น โดยฝักที่สมบูรณ์จะอยู่ที่ฝักส่วนบนสุด และฝักที่ 2 และ 3 มักจะไม่สมบูรณ์ แต่หากดึงช่อดอกตัวผู้ได้เร็ว จะทำให้ฝักอ่อนเจริญเติบโตดีทั้ง 3 ฝัก

การเก็บเกี่ยว

  • วิธีการสังเกตการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน อาจใช้วิธีนับวันจากเริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยวได้อายุประมาณ 40-45 วัน แต่วิธีนี้ไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของข้าวโพด และหากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน
  • การสุ่มตัวอย่าง อาศัยวิธีการนับอายุข้าวโพดหลังจากวันปลูกและสังเกตจากความยาวของไหมที่โผล่ออกมาจากฝักอ่อน ซึ่งควรยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้วข้อมือ เมื่อนำมาปอกเปลือกดูความยาวของฝักจะประมาณ 4-10 เซนติเมตร ความกว้างในช่วง 1-1.5 เซนติเมตร ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

ตลาด

พันธุ์ลูกผสมจะให้ผลผลิตสูงกว่า มีราคาดีและเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า

ผลตอบแทน

การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อส่งออกนั้น สิ่งสำคัญคือ คุณภาพ และปริมาณผลผลิต โดยขนาดของข้าวโพดฝักอ่อนจะแบ่งเป็น 3 เกรดคือ ฝักที่มีความยาว 9 – 13 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 1.8 เซนติเมตร (L), ฝักที่มีความยาว 7 – 9 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 – 1.5 เซนติเมตร (M), ฝักที่มีความยาว 4 – 7 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 – 1.2 เซนติเมตร (S) ซึ่งส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตเกรด S,M มากกว่า L

ข้อมูลและภาพประกอบ

  • หนังสือ 123 อาชีพทางเลือก
  • pongrang.com
  • ban-coconut.blogspot.com
  • freshbabycorn.com
แชร์
Fern Esan108

สาวอีสานหลานย่าโม แต่ไปเรียนไกลถึงเชียงใหม่ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ สปป.ลาว เป็นผู้ชื่นชอบการเขียนบทความทั้งไทยและเทศ และเน้นสาระประโยชน์แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ