หมวดหมู่ : เกษตรอีสาน

การเลี้ยงควาย (กระบือ)

การเลี้ยงควาย (กระบือ) จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ แบบแรก ได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อใช้แรงงาน การเลี้ยงแบบนี้เป็น
การเลี้ยงที่ดำเนินกันทั่วไปในเมืองไทย ได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อการทำไร่ทำนา โดยมิได้มุ่งเลี้ยงเป็นการค้าโดยเฉพาะ การเลี้ยงเป็นไปแบบตามมีตามเกิด โดยมิต้องอาศัยวิชาการเข้าช่วยมากนัก อาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องอำนวยการเลี้ยง

ส่วนการเลี้ยงควายอีกแบบหนึ่ง คือ การเลี้ยงแบบการค้า ซึ่งยังเลี้ยงกันเป็นส่วนน้อยในเมืองไทย การเลี้ยงแบบนี้จะอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย เพื่อมุ่งให้ได้กำไรมากที่สุด จึงเรียกว่า เป็นการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมโดยมุ่งให้ได้ผลผลิต

พันธุ์สัตว์

พันธุ์ควาย (กระบือ) ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเกษตรกรจะนิยมเลี้ยงกระบือปลัก ซึ่งเป็นกระบือที่ชอบนอนแช่ในปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีดำเข้มจนเกือบดำ อาจมีสีผิวขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึกท้องใหญ่ แคบยาว มีลักษณะเขาโค้งไปข้างหลัง ตานูนเด่นชัด คอยาว และบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี

อาหารที่ใช้

ผู้เลี้ยงจะต้องหาอาหารที่มีคุณภาพพอสมควรมาใช้เลี้ยงควาย โดยมุ่งให้ได้ผลิตผลและผลกำไรสูง

การให้อาหาร

หญ้าสด คือ อาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของควาย โดยหญ้าสดเป็นแหล่งเยื่อใยที่ช่วยระบบย่อยอาหาร แหล่งวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ

การเลี้ยงดู

การเลี้ยงควายแบบหนึ่งคือ การเลี้ยงแบบยืนโรง โดยจะถูกกักอยู่กับที่ในโรงเลี้ยงตลอดเวลา อาหารและหญ้าถูกนำมาเลี้ยงถึงที่ การเลี้ยงแบบนี้ ต้องเปลืองแรงงานในการเลี้ยงดูมาก แต่การควบคุมดูแลสะดวกและใกล้ชิดกว่า เหมาะสำหรับการเลี้ยงควายพันธุ์ที่จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ หรือมิอาจปล่อยควายลงเลี้ยงในทุ่งหญ้าได้ เพราะไม่มีทุ่งหญ้าเพียงพอและมีบริเวณจำกัด

อีกแบบคือ ปล่อยในโรงกว้าง เรียกว่า แบบปล่อยโรง แล้วตัดหญ้ามาให้กินถึงที่ แบบนี้ใช้เมื่อมีทุ่งหญ้าจำกัด และต้องการผลิตผลสูงสุดจากทุ่งหญ้า และอีกแบบหนึ่งคือ ปล่อยในทุ่งหญ้าเรียกว่า แบบปล่อยทุ่ง แบบนี้ประหยัดแรงงานและอุปกรณ์แต่ไม่สะดวกในการควบคุมดูแล หากมีสัตว์จำนวนมากๆ การเลี้ยงแบบปล่อยทั้งสองวิธี จะมีโรงแยกส่วนจากสถานที่เลี้ยง และต้อนควายเข้าไปเมื่อถึงเวลาพักผ่อนเท่านั้น

โรงเรือนและอุปกรณ์

โรงเรือนที่ดีที่สุดเป็นการเลี้ยงแบบไล่ต้อนสัตว์ไปกินหญ้าในทุ่งกว้าง ซึ่งว่างเว้นจากการเพาะปลูก หรือทุ่งสาธารณะ ผู้เลี้ยงสัตว์อาจไม่มีพื้นที่เป็นขอบเขตของตนเอง หรือจำกัดพื้นที่สำหรับการกักขังควายเมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น การเลี้ยงแบบนี้ลงทุนเกี่ยวกับสถานที่เลี้ยง และอุปกรณ์น้อยมาก โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนหรืออุปกรณ์มากนัก ใช้วิชาการน้อย ผู้เลี้ยงไล่ต้อนควายไปเลี้ยงโดยการเดินเท้า หรือขี่ม้าแบบเคาบอยอเมริกันตะวันตก วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงแบบนี้ โดยทั่วไป เพื่อผลิตควายขายใช้งาน และเอาเนื้อ มีผู้เลี้ยงวัวควายแบบนี้อยู่ทั่วไปในเมืองไทย

โรค การป้องกันโรค

พยาธิภายนอก พยาธิภายนอกของกระบือมีหลายชนิด เช่น เห็บ เหา ไร เหลือบ ยุง ริ้น แมลงวัน ขี้เรื้อน พยาธิพวกนี้จะดูดเลือด น้ำเหลืองจากตัวสัตว์ทำให้อ่อนแอ พวกเหาและขี้เรื้อนจะทำให้เกิดการคัน รำคาญ ทำให้เกิดความเครียดจนทนไม่ได้ ผิวหนังหยาบเสีย อาจแตกหรือลอก ขนร่วง อีกทั้งจะนำโรคต่าง ๆ มายังตัวกระบือ และพยาธิภายใน พยาธิภายในที่ทำอันตรายในลูกควายมากคือพยาธิตัวกลม พวกพยาธิไส้เดือน หรือ พยาธิเส้นด้าย นอกนั้นก็เป็นพยาธิปากขอ ในควายที่โตแล้วจะเป็นพวกพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งคนก็เป็นโรคนี้ด้วย

การป้องกันหรือรักษา ควรใช้ยากำจัดพยาธิภายนอกโดยการพ่นหรือทากับสัตว์ทุกตัว และบริเวณคอก เพื่อป้องกันการติดกลับมาเป็นอีก พวกเหาหรือขี้เรื้อน ควรรักษาติดต่อกัน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 อาทิตย์ ส่วนเห็บควรทำ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 อาทิตย์ เช่นกัน ยาที่ใช้ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ เช่น อาซุนโทลเนกูวอน ไซเปอร์เมทริน ไดอาซีนอน ฯลฯ ขนาดและวิธีปฎิบัติตามคำแนะนำของยาแต่ละชนิด

ต้นทุน

ส่วนใหญ่จะเป็นค่าพันธุ์ ค่าอาหารเสริมและแร่ธาตุ การเลี้ยงแม่ควาย 1 ตัวในระยะเวลา 5 ปี จะต้องมีทุนในการเลี้ยงดูประมาณ 17,000 – 23,000 บาท

ผลตอบแทน

เรื่องผลตอบแทน เมื่อควายได้โตเต็มที่ความทั้งสองชนิดนั้น จะสามารถขายได้ ราคา 50,000 บาทขึ้นไป ผ่านพ่อค้าคนกลางหรือไม่ก็โรงงาน  ก็จะขายให้กับเกษตรกรที่เขาสนใจซื้อต่อไปก็ได้ แต่ถ้าเป็นตัวเมียทางเจ้าของฟาร์มจะเก็บไว้ก็จะเก็บไว้ เพื่อเป็นแม่พันธุ์และเป็นการสร้างรายได้ภายในฟาร์ม

ข้อมูลและภาพประกอบ

  • หนังสือ 123 อาชีพทางเลือก
  • topicstock.pantip.com/jatujak/
แชร์
Fern Esan108

สาวอีสานหลานย่าโม แต่ไปเรียนไกลถึงเชียงใหม่ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ สปป.ลาว เป็นผู้ชื่นชอบการเขียนบทความทั้งไทยและเทศ และเน้นสาระประโยชน์แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ