การปลูกอ้อยโดยทั่วไปของเกษตรกร เก็บเกี่ยว และซื้อขาย ถ้าหากเราไม่คิดจะทำให้แตกต่าง เราก็จะวนเวียนอยู่แบบนี้ตลอดไป แต่เมื่อไหร่ที่เราเกิดความคิดที่อยากจะทำเกษตรที่แตกต่าง เราก็จะพบกลยุทธ เทคนิค ที่จะช่วยต่อยอดการเกษตรของเราให้ดำรงอยู่ได้ และดีมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นคุณวงศกร ชนะภัย เกษตรกรหนุ่มไฟแรงชาวหนองม่วงที่จังหวัดลพบุรี เขาเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่เด็ก โดยพื้นเพเดิมของครอบครัวนี้ทำไร่อ้อย เมื่อไหร่ที่ว่างจากการเรียนคุณวงศกรก็จะเข้าไปในไร่อ้อยเพื่อเรียนรู้ทุกกระบวนการขั้นตอนด้วยตัวเอง หลังจากจบการศึกษาจึงเปิดกิจการเล็กๆและทำไร่อ้อยควบคู่กันไป
การทำไร่อ้อยของครอบครัวนี้ดำเนินมาลักษณะเดียวกันกับเกษตรกรทั่วไป และเมื่อ 5 ปีก่อนคุณวงศกรมีแนวคิดที่จะทำ ไร่อ้อยอินทรีย์ เขาเริ่มแนวทางและเริ่มทดลองในไร่อ้อยเดิมที่มีอยู่ 60 ไร่ โดยคุณวงศกรกล่าวว่า ผมชอบเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เอาตัวเองได้มาทำไร่อ้อยก็อยากจะทำแล้วไอ้อินทรีย์บ้าง ตอนเริ่มก็เริ่มจากการหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือ หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต สะสมความรู้มาเรื่อยๆ คิดจะทำจริงจังครอบครัวก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาแบ่งพื้นที่ให้ทำไร่อ้อยอินทรีย์ 60 ไร่ ทั้งที่ตอนนั้นไม่ได้คิดถึงตลาดอ้อยอินทรีย์เลยว่ามีโรงงานไหนรับซื้อบ้าง คิดเพียงว่าเราจะสามารถลดต้นทุนได้อย่างถาวร
ตลอดระยะเวลาการปรับเปลี่ยนการปลูกอ้อยเป็นอ้อยอินทรีย์ รวมแล้วกว่า 3 ปี ซึ่งระหว่างนี้การปลูกการดูแลการให้น้ำการใส่ปุ๋ย ทุกอย่างจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตลดน้อยลง ปริมาณผลผลิตต่อไร่ก็ไม่ได้ลดน้อยลงกว่าเดิม แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนที่สุดเลยก็คือลดการจัดการภายในไร่อ้อยลงหลายขั้นตอน
ปัจจุบันนี้แปลงอ้อยอินทรีย์ขยายเพิ่มเป็น 140 ไร่ แต่ก็ยังมีการทำไร่ปกติอีกเกือบร้อยไร่ เหตุผลที่ไม่ทำให้เป็นอินทรีย์ทั้งหมดคุณวงศกรกล่าวว่า ไม่สามารถทำได้เพราะว่าแปลงไม่ได้อยู่ติดกัน อีกทั้งแปลงอ้อยอีกแรงยังอยู่ติดกับของเพื่อนบ้าน ซึ่งถ้าหากอยากจะทำแบบอินทรีย์จะต้องเป็นไร่อ้อยที่แยกเดียวออกมา หรือปลูกไม้อื่นเป็นแนวกั้น เพื่อที่จะได้เป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง แต่การที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแปลงอ้อยทั้งหมดเป็นสร้อยอินทรีย์ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะปัจจุบันเราทำให้ 2 แบบนี้จะได้เทียบกันเรื่องของต้นทุนการผลิต
การวางแผนการจัดการ
ทำแนวป้องกันการปนเปื้อน ทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ นั่นคือ การปลูกพืชในกลุ่มของไม้ยืนต้น โตเร็ว เป็นแนวกั้นรอบแปลง หรือ พืชอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ เหตุผลที่เราจะต้องทำแบบนั้น เพื่อป้องกันลมสารพิษที่เข้ามาสู่ไร่อ้อยของเรา การทำคันดินหรือร่องน้ำกั้นระหว่างแปลง เพื่อป้องกันน้ำจากข้างนอกไหลเข้ามาในแปลง รวมถึงการกั้นพื้นที่รอบแปลงระยะห่าง 4-5 เมตรจากแปลงอื่น
ก่อนเริ่ม ควรมีการเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ เพื่อที่เราจะได้นำมาปรับปรุงดิน ในการปรับปรุงดินควรทำก่อนปลูกพืชปุ๋ยสุด ถ้าหากพบว่าเป็นกรดค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ให้ใส่ปูนโดโลไมท์ ตามอัตราที่แนะนำจากผลการวิเคราะห์ดิน หลังจากใส่ปูนแล้วประมาณ 10 วัน จึงปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุในดิน อย่างเช่น ปอเทือง ถั่วพร้า โสน หรือพืชตะกูลถั่วอื่นๆ แล้วไถกลบลงในช่วงที่พืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอก หรืออายุประมาณ 50 ถึง 60 วัน หลังจากไถกลบพืชปุ๋ยเสร็จแล้วประมาณ 15 วันปลูกอ้อย แต่ถ้าหากต้องการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารโพแทสเซียมให้ใส่ขี้เถ้าจากโรงงานน้ำตาลไขคลุกเคล้ากับดินอย่างน้อย 2 ตันต่อไร่
การปลูกอ้อย
1.หลังจากถ่ายยกร่องแล้ว ให้เราลองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สูตรอ้อยออร์แกนิค อัตรา 50-100 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยใต้แถวพันธุ์อ้อย
2.สับท่อนพันธุ์ ให้มีความยาวสม่ำเสมอ ประมาณ 30 cm หรือประมาณ 3-4 ข้อ
3.การปลูกอ้อยปลายฝน ควรกบท่อนพันธุ์ให้แน่นและหนาประมาณ 15 ถึง 20 เซนติเมตร ถ้าปลูกอ้อยต้นฝนหรือว่ายน้ำราดควรกลบดินให้สม่ำเสมอนะประมาณ 3-5 เซนติเมตร
การดูแล
ควรปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวอ้อย เช่นถั่วพร้า เพื่อป้องกันและควบคุมการงอกของวัชพืช และช่วยคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น หวานเมล็ดถั่วพร้าระหว่างร่องอ้อยหลังจากปลูกอ้อยเสร็จ จากนั้นฉีดพ่นด้วยสารสกัดชีวภาพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตความแข็งแรงและเพิ่มความหวานของอ้อยทุกๆ 15 ถึง 20 วัน นอกจากนี้จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องทุ่นแรงตามความเหมาะสมของเรา
ถ้าหากมีปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่ ขี้วัว ขี้เป็ด ขี้ควาย ที่เลี้ยงแบบปล่อย ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สามารถนำมาใส่แปลงอ้อยอินทรีย์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยได้เลย
เมื่อเข้าฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพโรยข้างแถวๆเป็นปุ๋ย แต่ถ้าหากใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดินที่ใช้ในแปลงอ้อยอินทรีย์ ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานก่อน ในการเก็บเกี่ยว เมื่อถึงเวลาตัดอ้อย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะแจ้งเวลาการตัดอ้อยอินทรีย์เข้าหีบ โดยเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวอ้อยสด ตัดโคนอ้อยให้ชิดดิน สางใบอ้อยให้สะอาด ไม่เป็นอ้อยยอดยาว หลังจากตัดเลี้ยงส่งเข้าหีบไม่เกิน 48 ชั่วโมง
นี่ก็คือวิธีการทำไร่อ้อยของเกษตรรุ่นใหม่ ปลูกอ้อยอินทรีย์ต้นทุนต่ำ ถ้าหากใครอยากจะลองทำก็สามารถลองทำได้ ผลผลิตเท่าเดิมหรืออาจจะดีกว่าเดิม แต่ที่แน่ๆต้นทุนต่ำกว่าเดิมแน่นอน มันจะช่วยเพิ่มกำไรให้กับตัวของเราเอง เราไม่ต้องไปลงทุนกับการทำอ้อยมาก อยากจะลองทำตามก็ลองทำได้เลยนะครับ การทำอ้อยแบบอินทรีย์ วิธีเกษตรกรรุ่นใหม่