หมวดหมู่ : อาหารอีสาน

ก้อยปลาซิว

ชื่อภาษาไทย อนุมัจฉา วารีถด
ชื่อภาษาประกิต Direction of Chilly
ชื่อพื้นบ้าน      ก้อยปลาซิว

ปลาซิว  เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก  หาเลาะกิน “ขี้ตะหลืนน้ำ” พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
เปรียบเสมือนคนอีสานเฮานี้หละ หากินถั่ว  ( ถั่วทีบ ถั่วแดน )  ไผว่าปลาซิวสกปรก  ให้พิจารณา
คนคดโกงกินงบประมาณหลวง โกงกินประเทศชาติ  คิดว่าเขาสะอาดแล้วให้ ยอมือใส่เขาโลดอีพ่อ
นั้นหละสิพาให้บ้านเมืองล่มจม

เกริ่นนำ

ก้อยปลาซิวเป็นอาหารอีสาน พื้นบ้านทั่วไป  คนอีสานเสพรสชาตินี้ มาตั้งแต่ บรรพกาล สมัยเฮายัง
เป็นลมเป็นแล้งอยู่ ( แปลเป็นภาษาไทยว่า ตั้งแต่สมัยคนปัจจุบัน ยังเป็นสัมภเวสี )  การกินก้อยปลาซิว
สมัยก่อนโน้น เขาจะทำกินก็ต่อเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง  น้ำแห้งขอด   ในฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝนนั้น
แม้จะมีปลาชนิดนี้มากมาย เขาจะเอาไปทำอย่างอื่น เช่น  ออแร่งสะมอนฟิช ( ส้มปลาน้อย )
ปลาแดกน้อย  อุปลาซิว หมกปลาซิว  แกงปลาซิว เอาะปลาซิว เป็นต้น  ซึ่งต้องผ่านไฟ
หรือไม่ก็ หมักดอง เสียก่อนจึงนำมากิน
เพราะคนโบราณเขารู้ว่า ในฤดูน้ำหลาก หรือ ฤดูฝน ปลามันหากินไปทั่วตามสายน้ำ  ทำให้มีพยาธิ
เรียกว่า ” แม่พยาธิ”
การทำก้อยปลาซิว  เป็นการกินปลาดิบจะกินในฤดูแล้ง น้ำแห้งขอดแล้ว  ส่วนมากกินในห้วงเดือน
พ.ย.- ก.พ.    พวกที่กินก้อยปลาซิวหน้าฝน  คือ พวก “สะลื่น”  ลืนควมผู้เฒ่า   จึงเกิดโรคภัย

ก้อยปลาซิว

วัตถุดิบ  ( ดิบอีหลี)

1.ปลาซิวข่อน ( ห้วงเดือน พ.ย. – ม.ค. )

2. ห่อเดียวหลายหัว  (ฮังมดส้ม )
3.บักเผ็ดแห้งป่น

4.ลูกโดดซอยห่าง ( บักเผ็ดดิบ)
5.ข้าวคั่ว
7.ปลาแดกอีสาน
8.ผักหอมเป
9.ผักบั่ว
10.บักนาว
12 น้ำปลา กาหน่อไม้ หรือ กาสิงห์
11. เกลือสินเธาว์ ต้มจากดินเอียด
12.บักสองซาว  ( 40  หนองคาย  )

องค์ประกอบ ในการหาการหาวัตถุดิบ

1. แหย่ง  ( ดางเขียว )
2.ห้วยหนอง ที่น้ำขอด  โกนห้วย หรือ หนองสระ  กุด และแม่น้ำในหน้าแล้ง
3. กะคุ  ( คุงถัง กาละมัง ปี๊ปฮ้าง )
4.แดดพวมงาย สายลมกำลังห่าว
5.บุคคลผู้กำลังส้มปาก แจ๊ะ ๆ 2 คนขึ้นไป

เมื่อครบองค์ประกอบแล้ว  ก็พาไปหาแหล่งน้ำอีสานในหน้าแล้งได้เลย   มองหาแหล่งปลาซิว
จัดการ “ล่องแหย่ง” หรือ “ลากดางเขียว”  เพื่อต้อนปลาซิวมาตุ้ม มาโฮมกัน

จากนั้นก็เลือกเฟ้นเอาแต่ปลาซิว  คัดเอา “ขี่เหยื่อ” ออก ล้างน้ำให้สะอาดปราศจากฮากไม้
ก็จะได้ปลาซิววัตถุดิบชั้นเลิศ จากดินแดนที่ราบสูง  ระหว่างเดินทางกลับ ก็ให้แหงนหน้ามองกกไม้

แนมหา วัตถุดิบชั้นสูงจากยอดไม้  นั้นคือ “ฮังมดแดง”  บางบ้านก็เรียก ” ฮังมดส้ม” พะนะ

วิธีทำอนุมัจฉา วารีถด

1. คัดเอาปลาซิวลงใส่ลาละมัง
2.ล้างน้ำให้สะอาด 2 – 3 น้ำ
3. ไส้ขี้ ปลาซิว ( บางคนบอกบ่ต้องไส้ขี้ เสียรสชาติ พะนะ )
3. เทฮวด บัก 2 ซาว ลงคอ แก้คาว
4.ริน ไวน์ขาวอีสานลงใส่ปลาซิว  1กั๊ก ( ฆ่าเชื้อโรค)
5.เอาเกลือสินเธาว์ โรย  1 ช้อนชา
6. ซาว หรือ โคเลให้เข้ากัน
7. บีบ บักนาว ( มะนาวลง 3 ลูก )

8. คะลนให้เข้าเนื้อปลา

9. โข๊ะ  (ขั๊วะ)  ฮังมดแดง ให้มดแดงกัดเนื้อปลา จนปล่อยกรดสารส้ม อ่ามหล่าม
10 คนและซาว ให้มดแดงผสมกับปลาซิว
11 เอาข้าวคั่วกับพริกแห้งป่น ลงผสม
12 เติมน้ำปลา และ ปลาแดกลงไปปรุงรสตามชอบ
13. นำ ลูกโดดที่ซอยไว้ ลงไปคลุกเค้าพร้อม ผักเครื่องหอมต่างๆ

หากต้องการกินสุก เช่นมีเด็กน้อยกินนำ มีพุสาว กกขาขาวฮาวสูบ ( สูบตีเหล็ก ) กินด้วยก็ให้แบ่งไปคั่วให้สุก
สำหรับพวกนิยม รสชาติ ออริจิน่อน ก็ กินก้อยปลาซิวดิบๆ นั้นหละ

การเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตอีสาน

การทำก้อยปลาซิว หรือ อนุมัจฉา วารีถด  นิยมทำกินกันเป็นหมู่คณะ  ทำกินกันในฤดูเกี่ยวข้าว
ฤดูนวดข้าว  ล้อมวงกันกินเป็นทิพย์รส แห่งแผ่นดินที่เรียบง่าย โบราณว่า “น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา”
นั่นคือการเปรียบเทียบ ฤดูกาล  กับโอกาส หากจะพูดในเชิงวิทยาศาสตร์ คือ มิติที่ 4  ( เวลา )  นี่เอง
คนอีสานคือนักสู้ที่ทรหด ท่ามกลางฤดูกาลอันโหดร้ายแห้งแล้ง  จึงอาศัยมิติที่ 4 กินทั้งปลาและมดพร้อมกัน
รสชาติที่แท้จริง คือ มิตรภาพและความอบอุ่น เรียบง่ายและเป็นจริงตามธรรมชาติ
คนอีสานอาศัยเมนูนี้ หลุดพ้นจากบ่วงบาศความหิวทุกข์ยากของสังขารมานานนับหลายพันปี
ในขณะที่ไม่มี เวทีที่ใดที่เสนอเมนูนี้ต่อชาวโลก ให้ได้ชื่นชม  หลุดพ้นจาก โซ่ตรวนทุนนิยม สู่เสรี

แชร์
Alitta Boonrueang