จารย์คำตาเมื่อภรรยาถึงแก่กรรมแล้วท่านก็เลี้ยงลูกกำพร้ามาด้วยความสุขและทุกคนก็สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ท่านเองเมื่อถึงวันพระจะเข้าวัดรักษาศีล 8 เป็นประจำและประมาณต้นเดือนกุมภาพันธุ์ 2530 ในวันพระขณะที่นอนรักษาศีลอยู่ในวัดก็ได้ฝันว่าเจ้าปู่ศรีสุทโธมาขอร้องให้บวชในคืนแรกไม่ตกลง เพราะใจจริงของท่านก็ไม่อยากบวชเพราะห่วงลูกๆ ต่อมาในวันพระที่สอง ก็ฝันอีกว่าเจ้าปู่ศรีสุทโธมาขอร้องให้บวช เจรจากันอยู่นานแต่ก็ยังไม่ตกลง พอถึงวันพระที่สาม ก็ฝันอีกว่าเจ้าปู่ศรีสุทโธมาขอร้องให้บวชอีก คืนที่สามนี้มีสิ่งดลใจให้ตกลงตามที่เจ้าปู่ขอ เจ้าปู่ขอคืนนั้นเป็นคืนวันพระ 15 ค่ำ เมื่อตกลงแล้วเจ้าปู่ก็กำหนดให้ว่าให้เข้านาคในวัน 12 ค่ำ ให้เอาฝ้ายผูกแขนนาค(พิธีบายศรีสู่ขวัญนาค)ไปแขวนไว้ศาลเจ้าปู่คำชะโนด ให้เข้านาคอยู่ 3 คืน และบงชในวัน 15 ค่ำ และบอกวิธีบวชให้เรียบร้อย ในการบวชครั้งนี้เจ้าปู่จะมาร่วมพิธีและจะอนุโมทนาในการบวชครั้งนี้ด้วยและเจ้าปู่สั่งให้ปฏิบัติตนเองว่า เมื่อปฏิบัติเป็นพระสงฆ์ให้ปฏิบัติดังนี้
พอถึงกำหนดวัน 12 ค่ำ คณะญาติพี่น้องก็นำจารย์คำตาไปมอบนาคที่วัดบ้านวังทอง พอถึงวันบวช 15 ค่ำ ก็มีประชาชนทั้งบ้านใกล้บ้านไกลที่ทราบข่าวกำหนดการบวช ต่างก็หลั่งไหลกันมาดูมาร่วมถวายจตุปัจจัยอย่างมากมายเรียกได้ว่าเป็นงานใหญ่โตที่ๆไม่เคยปรากฏมาก่อน เหตุผิดปกติในขณะทำพิธีบวชในโบสถ์ ขณะที่พระสงฆ์อุปชฌาย์ให้ฉายาว่า “อุตตโม” เพราะหลวงปู่คำตาเกิดวันอาทิตย์นั้น หลวงปู่คำตาเดินลุกเดินออกจากพิธีด้วยความฉุนเฉียว โดยไมม่รู้สึกตัวออกไปจากโบสถ์ขณะหนึ่งแล้วเดินกลับเข้ามาบอกว่า เจ้าปู่ศรีสุทโธให้ฉายาว่า “สิริสุทโธ” เป็นสิ่งประหลาดเกิดขึ้นในโบสถ์ต่อหน้าพระอุปชฌาย์พระสงฆ์ และญาติโยมเป็นจำนวนมาก (อาการผิดปกติของหลวงปู่คือตัวสั่น มือสั่น เคลื่อนไหวรวดเร็ว หน้าตาแดง สายตาสอดส่ายรวดเร็ว) ในที่สุดประอุปชฌาย์ก็ให้ฉายาว่า “ศิริสุทโธ” ตามความต้องการของเจ้าปู่ การบวชก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย จนเสร็จพิธี