ฟ้อนเอ้ไอ่คำ
นางสาวไพจิตร บุดดา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ผาแดง-นางไอ่ คือวรรณคดีอันเลื่องชื่อของอีสาน และนางไอ่คำ ธิดาของพญาขอมแห่งเมืองเอกชะธีตรนคร อันมีความสวยสดงดงามลือเลื่องไปทั่วทุกหัวมุมเมือง ดังนั้น เพื่อเป็นการถอดอักษรในด้านวรรณคดีให้เกิดเป็นตัวละครที่มีชีวิตชีวาจริง
จึงน่าจะเป็นการแสดงที่สามารถนำไปแสดงทุกโอกาส รวมถึงสามารถแสดงประกอบในวรรณคดีดังกล่าวได้
ฟ้อนเอ้ไอ่คำเป็นฟ้อนประเภทนาฏยบริสุทธิ์ คือฟ้อนประกอบทำนองเพลง โดยนำเสนอด้วยการเกริ่นเนื้อร้องชมโฉมก่อนที่จะฟ้อนประกอบทำนองเพลง
จากการสัมภาษณ์นางสาวไพจิตร บุดดา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2544 ได้มีรุ่นพี่ได้คิดฟ้อนเอ้ผาแดงขึ้น เป็นการแสดงฟ้อนเดี่ยวของนักแสดงชาย ดังนั้นตนจึงเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานชุด ฟ้อนเอ้ไอ่คำขึ้น เพื่อเป็นการชมโฉมของนางไอ่คำ ธิดาของพญาขอมผู้ความงามลือเลื่องไปทั่วทุกหัวมุมเมือง
แนวคิดในการประดิษฐ์ท่าฟ้อนต้องไม่อาศัยกระบวนท่าอย่างรำไทยดั้งเดิมในงานใหม่ของตนเอง ด้วยการนำเสนอแนวฟ้อนอีสานรูปแบบใหม่คือผู้ฟ้อนทุกคนจะแสดงเป็นสรีระของนางไอ่คำที่มาประกอบกันให้เกิดความงาม โดยคิดประดิษฐ์ให้เป็นฟ้อนหมู่ เพื่อการแสดงกระบวนท่า และนำเสนอการแปรแถว การจัดกลุ่มผู่ฟ้อนให้มีความสลับซับซ้อน แสดงความพร้อมเพรียงในกระบวนท่า
ฟ้อนเอ้ไอ่คำเป็นหนึ่งในโครงการนาฏยนิพนธ์ Dance Senior Project ซึ่งเป็นรายวิชาสุดท้ายของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นโครงการที่นิสิตจะต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ผลงานนาฏยศิลป์แบบดั้งเดิม 1 ชุด และแบบสร้างสรรค์ 1 ชุด เมื่อปี พ.ศ. 2545
ฟ้อนเอ้ไอ่คำ ประพันธ์บทร้องและทำนองเพลงโดย นายอาชา พาลี นิสิตสาขาวิชาเอกดุริยางคศิลป์พื้นบ้าน สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนจำนวน 6-8 คน ผมเกล้ามวย ทัดดอกไม้ ใช้ผ้าไหมพื้นรัดอก นุ่งผ้าไหมมัดหมี่ จับจีบนุ่งหน้านางปล่อยหางไหล สวมเครื่องประดับอย่างเขมรโบราณ(สีเงิน) ได้แก่ กรองศอ สังวาล รัดต้นแขน กำไล ต่างหู เข็มขัด
“ไอ่คำ ยอระยาดย้าย ยามหย่างยอขา
โสภางามดังอินทร์ตองแต้ม
เกศาแซมสีเส้นดอกดำผุดผ่อง
นางก็อ่องต่องแก้ม หัวแข้มวาดกระบวน
หน้าผากกว้าง คิ้วโก่งธนูศร
ชุลีกรคือลำเทียน…อ่อนเนียนบาดยามฟ้อน
คอกลมป้องคือดั่งคอสงห์
เลาคีงบางอ่อนสีใสเนื้อ
แนวเครือผ้า ใหม่งามสวมใส่
แก้วไอ่คำอ้อนช้อย
งามระห้อย แม้นดังหงส์”