หากพูดถึงจังหวัดบุรีรัมย์ หลายคนคงนึกถึงปราสาท โบราณสถานอันสวยงามและเก่าแก่จนเป็นที่เลื่องชื่อในหมู่ชาวต่างชาติหรือคอบอลบางคนอาจจะนึกถึงทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แต่วันนี้ esan108 จะพาไปเยือนศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ขึ้นชื่อของภาคอีสานกัน ถ้าพร้อมแล้ว ก็ออกเดินทางไปกันเลย
ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ตั้งอยู่หน้า ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ เกิดขึ้นจากแนวคิดว่า “ต้องการรวบรวมและจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของแถบอีสานใต้” สืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้ ปี 2525 จึงได้มีแนวคิดในการสร้างศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง คือ หอวัฒนธรรมสองชั้น สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเขาพนมรุ้ง (ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์) ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และอาคารหอประชุม
ภายในหอวัฒนธรรมมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ อาทิ
นอกจากนี้ ภายในอาคารยังมีห้องจำหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์พื้นบ้านประเภทต่างๆ รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มั่นใจว่าคงถูกใจน้องๆนักเรียน นักศึกษาและนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมอย่างแน่นอน หากใครที่มาเยี่ยมชมโบราณสถานชื่อดังของจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว การมาเยือนศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ชมโบราณวัตถุเก่าแก่ ย้อนเวลาศึกษาอดีตความเป็นมาของประเทศไทย ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจไม่น้อย
ที่ตั้งและเบอร์ติดต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถ.จิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
Telephone: 0 4561 1211, 0 4561 7588 ต่อ 7600,7601 Fax: 0 4461 2858
Website: https://www.facebook.com/accbru/reviews Email: culture@bru.ac.th
วันและเวลาทำการ เปิดทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม ไม่เก็บ
จากท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 219 และ 288 เข้าสู่ตัวเมืองบุรีรัมย์ จากนั้นเลี้ยวไปทางหลวงหมายเลข 218 หรือถนนจิระ ตรงไป ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
จากจังหวัดนครราชสีมาใช้เส้นทางหมายเลข 226 และเลี้ยวไปเส้นทางหมายเลข 218 เพื่อเข้าจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านถนนบุรีรัมย์-นางรอง ไปจนถึงถนนจิระ และม.ราชภัฏบุรีรัมย์
หมายเหตุ :พื้นที่อีสานใต้ในที่นี้ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และบางอำเภอของจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ พื้นที่เหล่านี้เคยชุมชนโบราณและเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมแทรกกระจายอยู่ มีสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าปราสาทกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบแหล่งเตาเครื่องเคลือบและเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบซึ่งมีอายุประมาณ 800-1,200 ปี กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านกรวดพบมากกว่า 200 เตา
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก