หมวดหมู่ : คลังความรู้

หน่วงดักหนู จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน

พี่น้องรู้จัก “หน่วง” บ่ครับ “หน่วง” คืออุปกรณ์จับสัตย์ชนิดหนึ่ง เป็นภูมิปัญญาของคนอีสานโบราณที่พลิกแพลงหาวัสดุอุปกรณ์รอบตัวที่หาง่ายๆ มาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เรียกได้ว่าเป็น “มูนมัง” ของอีสานบ้านเฮาเลยกะว่าได้ ปัจจุบันแม้กระทั่งนักร้องวัยรุ่นที่ไปเรียนถึงต่างประเทศยังได้ร้องเพลงเกี่ยวกับ “หน่วง” ที่โด่งดังไปทั่วประเทศ รู้จักกันในชื่อวง Room 39 นั่นไง อิอิอิ อันหลังนี่เว้าเล่นเด้อ

บ่วงดักหนูนา

ลักษณะการทำงานของหน่วง : คำว่าหน่วงที่คนอีสานเรียกกัน น่าจะตรงกับคำว่าบ่วงในภาษากลาง โดย “หน่วง” จะมีเชือกทำเป็นบ่วงเปิดรออยู่ในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อหนูเข้าไปกินเหยื่อในกระบอกหน่วง จะไปโดนไกของหน่วงทำให้บ่วงลั่นแล้วรัดตัวหนูเอาไว้ ทำให้หนีไปไหนไม่ได้

ข้าวจี่ ใส่หน่วง

เหยื่อล่อ : การใส่หน่วงก็ต้องมีเหยื่อล่อเหมือนกับดักหลายๆชนิด หนูท้องขาวชอบกลิ่นหอมๆ เราเลยใช้ข้าวเหนียวนึง นำไปจี่เป็นปั้นเล็กๆ ภาพประกอบที่ผมนำมาให้ดูนี่ปั้นใหญ่เกินไปนะครับ หารูปไม่ได้เลยเอาปั้นใหญ่มา บางทีอาจจะใช้กล้วยปิ้ง ก็ได้เช่นเดียวกัน

ไปใส่หน่วง

สถานที่ดักเหยื่อ : จากที่เคยนำเสนอบทความเรื่อง “ปิ้งหนูท้องขาว” มา สถานที่ดักหนูของเราจึงมักจะไปตามหัวไร่ปลายนา ชายป่าละเมาะ เป็นต้น คนอีสานจะเชี่ยวชาญรู้ว่าจุดไหนมีหนูอาศัยอยู่ สังเกตุจากรอยการหากินของหนู

การไปยามหน่วง : หลังจากที่เราไปใส่หน่วงหรือไปดักหน่วงไว้ตั้งแต่ตอนหัววัน เวลาที่เหมาะกับการไปยามหน่วงรอบแรกก็ประมาณสี่ทุ่ม เราก็ใช้หม้อแบตพร้อมกับไฟส่องในการไปยามหน่วง หลังไหนลั่น ก็ลุ้นได้เลยว่าจะได้ตัวใหญ่หรือตัวเล็ก อีกรอบนึงก็ไปเก็บรอบเช้า เพราะหนูมันออกหากินทั้งคืน ได้มากได้น้อยก็ว่ากันไป แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพลาด ไปดู ภาพต่างๆที่เราหามาฝากกันเลยครับ

วิธีดักหนู
ดักหนูนา
วิธีทํากับดักหนู
กับดักหนู
กับดักหนูนา
ที่ดักหนู
แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"

ดูความคิดเห็น