หมวดหมู่ : ศิลปวัฒนธรรม

หลวงพ่อพระใส หนองคาย

หลวงพ่อพระใส เป้นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยสีสุก มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในหนังสือตำนานเจดีย์สยามว่า พระพุทธรูปล้านช้างที่งามยิ่งกว่าองค์อื่นคือ พระเสริม ที่อยู่ในพระวิหารวัดปทุมวัน

มีตำนานเล่าว่า พระราชธิดา 3 องค์ในสมเด็กพระไชยเชษฐธิราชกษัติย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง ขอให้พระราชบิดาสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์และขอให้พระราชทานนาทพระพุทธรูปนั้นตามนามของพระองค์ คือ

ราชธิดาองค์ใหญ่ – เสริม

องค์กลาง – สุก

องค์เล็ก – ใส

เมื่อปี พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 3 เสร็จสงครามปราบเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ได้อาราธนาทั้งสามองค์ข้ามแม่น้ำโขงมาประดิษฐานยังหนองคาย โดยการต่อแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำงึมจนออกสู่แม่น้ำโขง ณ จุดที่แม้น้ำสองสายบรรจบกัน  ตรงส่วนนี้แม่น้ำมีความเชียวที่สุด และเกิดพายุฟ้าฝนคะนอง จนเกิดอุบัติเหตุทำให้พระสุกจมแม่น้ำโขงไปหนึ่งองค์ ที่เหลือสององค์คือ พระใส นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดหอก่อง พระเสริมนำไปประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้เชิญพระเสริมและพระใสลงกรุงเทพ ฯ เพื่อประดิษฐาน ยังวัดประทุมวนาราม ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ว่าเกวียนที่เชิญพระใสนั้น หักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัยครั้งแล้วครั้งเล่า ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันอันเชิญพระใสขึ้นประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย นับตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อพระใสจึงประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของทั้งหนองคายและชาวอีสานมาจนทุกวันนี้

แผนที่การเดินทาง

ข้อมูล http://www.watphochai.com

 

แชร์
เซียงเหมี่ยง

เด็กผู้ชายบ้านนอก ที่เกิดและโตท่ามกลางความเป็นอีสาน จนซึมซับกลายเป็นความชื่นชอบและสนใจในประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และอีกหลาย ๆ อย่าง จนได้นำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าในเว็บไซต์ อีสานร้อยแปด นั่นเอง

ดูความคิดเห็น