โครงการอักษรอีสาน

"โครงการอักษรอีสาน" โดย  เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ มีแนวคิดพัฒนาการรองรับอักษรอีสานในคอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานยูนิโค้ด พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเป็นโครงการที่ทำให้เราสามารถพิมพ์ภาษาอีสานในแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง

ทีมงานอีสานร้อยแปด สืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอีสาน มีข้อมูลจากหลายๆโครงการเป็นที่น่าสนใจ มีความดีใจเป็นอย่างมาก ที่มีผู้รู้หลายๆท่านได้รวบรวมข้อมูลเอาไว้ หนึ่งในโครงการที่เรารู้จักและน่าสนใจมากๆคือ “โครงการอักษรอีสาน” โดย  เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ ที่มีแนวคิดพัฒนาการรองรับอักษรอีสานในคอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานยูนิโค้ด พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเป็นโครงการที่ทำให้เราสามารถพิมพ์ภาษาอีสานในแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง

โครงการอักษรอีสานได้พัฒนาตามแบบอักษรล้านช้างที่ใช้กันมาแต่โบราณ แบ่งออกเป็นสองชนิดคืออักษาไทน้อยและอักษรธรรม อักษรไทน้อยใช้เขียนเอกสารทั่วๆไป รวมไปถึงเอกสารที่ใช้ทางราชการด้วย พูดง่ายๆก็คือภาษาที่ใช้เขียนทางโลก ส่วนอักษรธรรมใช้เขียนคัมถีร์และวรรณกรรมต่างๆทางศาสนาหรือทางธรรม

เนื่องจาก ยังมีวรรณกรรมอีสานมากมายที่จารึกไว้ด้วยอักษรธรรมและไทน้อย มีโครงการปริวรรตวรรณกรรมอีสานเป็นอักษรไทยพอสมควร ควรค่าแก่การบรรทึกในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้รหัสยูนิโค้ด เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำไปประมวลผลหรือสืบค้นได้ อีกอย่างหนึ่งคือการบันทึกในรูปแบบดิจิทัลสามารถจัดเก็บให้เป็นแบบฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์
อีกอย่างหนึ่ง อักษรอีสานเพิ่งเลิกใช้ได้ยังไม่ถึงร้อยปี แถมยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆในปัจจุบัน ยังมีผู้ที่รู้อักษรอีสานแต่ก็ยังถือว่ามีจำนวนน้อยอยู่ จึงไม่สายหากจะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ภาษาอีสานจะได้ไม่เหลือแค่ภาษาพูดอย่างที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ครั้นจะบันทึกเป็นภาษาไทยอย่างเดียวก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้ ทีมงานก็เลยเอาเรื่องราวและข้อมูลดีๆของ”โครงการอักษรอีสาน” มาฝาก

ตัวอย่างการปริวรรตอักษรอีสานเป็นภาษาไทย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

โครงการโคตรบูร

ดาวน์โหลดฟอนต์ : ทรัพยากรเหล่านี้ ยังอยู่ระหว่างพัฒนา และอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรุณาใช้ด้วยความระมัดระวัง

แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"

ดูความคิดเห็น

  • ขอบคุณความรู้ครับ ผมมีความชอบที่จะศึกษาภาษาถิ่นจึงได้มาเจอครับ