เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกครอง 11 ตำบล 3 อำเภอ 1. อำเภอบ้านโคก มี 3 ตำบล เนื้อที่ประมาณ 56,250 ไร่ หรือ 90 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ – ตำบลบ้านโคก – ตำบลนาขุม – ตำบลม่วงเจ็ดต้น 2. อำเภอฟากท่า มี 4 ตำบล เนื้อที่ประมาณ 29,375 ไร่ หรือ 207 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ – ตำบลฟากท่า – ตำบลสองคอน – ตำบลบ้านเสี้ยว – ตำบลสองห้อง 3. อำเภอน้ำปาด มี 4 ตำบล เนื้อที่ประมาณ 131,875 ไร่ หรือ 211 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ – ตำบลห้วยมุ่น – ตำบลน้ำไผ่ – ตำบลบ้านฝาย – ตำบลเด่นเหล็ก รวมพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 317,500 ไร่ หรือ 508 ตารางกิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด ประกอบไปด้วยภูมิประเทศที่หลากหลาย จึงทำให้พื้นที่มีสภาพป่าหลายชนิดผสมกัน จำแนกได้ดังนี้ 1. ป่าดิบชื้น จะพบในบริเวณที่มีความชื้นสูงตามบริเวณลุ่มน้ำและบริเวณใกล้ลำห้วยสายใหญ่ๆ สภาพโดยทั่วไปพื้นที่จะรกทึบ พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน มะหวด ตะแบก ไม้ค้อ กระบาก เต็งตานี และยาง เป็นต้น 2. ป่าดิบแล้ง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาดป่าชนิดนี้จะพบได้ตามสันเขาทั่วๆ ไป พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง กระบาก ยาง สมอพิเภก ชิงชัน และยมหอม เป็นต้น 3. ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ ป่าชนิดนี้พื้นป่าจะไม่รกทึบและจะพบไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เป็นไม้พื้นปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ พะยอม งิ้วป่า กระพี้เขาควาย ประดู่ มะม่วงป่า ชิงชัน ตะแบกใหญ่ ตะแบกเลือด มะค่าโมง แคทราย กว้าว มะกอก คูณหรือลมแล้ง ติ้วแดง ติ้วดำ เสี้ยว อินทนินบก เปล้า ขี้เหล็ก เสลา และไผ่รวก เป็นต้น 4. ป่าเต็งรัง ป่าชนิดนี้จะพบตามเนินและบริเวณเชิงเขา ที่ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายและลูกรัง มีพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้เต็งรัง ไม้รัง เหียง พลวง พะยอม กะบก ก่อนก ก่อแพะ มะขามป้อม และส้าน เป็นต้น

แชร์
สถานที่ อีสานร้อยแปด