วันจุดบั้งไฟ

วันจุดบั้งไฟ

ในวันจุดบั้งไฟ ตอนเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ ตักบาตรถวายภัตตาหาร เลี้ยงดูญาติโยม แล้วแห่บั้งไฟไปรอบพระอุโบสถ เพื่อถวายแด่เทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วนำบั้งไฟออกไปที่จัดไว้สำหรับ จุดบั้งไฟ

จุดบั้งไฟเสี่ยงทาย

การจุดบั้งไฟจะจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน เพื่อเป็นการเสี่ยงทายว่าพืชผลทางการเกษตร ประจำปี จะดีเลวหรือไม่ กล่าวคือ ถ้าบั้งไฟที่เสี่ยงทายจุดไม่ขึ้น    (ซุคาค้าง) ก็ทายว่าน้ำประจำปีจะมาก และทำให้ไร่ที่ลุ่มเสียหาย ถ้าจุดแล้วขึ้นไประเบิดแตกกลางอากาศ ทายว่าแผ่นดินจะเกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้าบั้งไฟจุดขึ้นสวยงามและสูง ชาวบ้านจะเปล่งเสียงไชโยตลอดทั้งบริเวณลาน เพราะมีความเชื่อว่า ข้าวกล้าและพืชไร่ในท้องทุ่งจะได้ผลบริบูรณ์

จุดบั้งไฟแข่งขัน

หลังจากนั้นก็จะจุดบั้งไฟที่นำมาแข่งขัน บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน ก่อนจุดต้องเอาเครื่องประดับบั้งไฟออก นำแต่บั้งไฟเท่านั้นไปจุด การจุดบั้งไฟแข่งขัน ถ้าบั้งไฟของคณะใดขึ้นสูงก็เป็นผู้ชนะ ถ้าขึ้นสูงมากก็จะโห่ร้องยินดี กระโดดโลดเต้นกันอย่างเต็มที่ และจะแบกช่างทำบั้งไฟเดินไปมา แต่ถ้าบั้งไฟของคณะใดไม่ขึ้นหรือแตกเสียก่อน ช่างบั้งไฟจะถูกหามลงโคลนตม หลังจากจุดเสร็จแล้ว จะมอบรางวัลให้กับคณะบั้งไฟ จากนั้นคณะเซิ้งพากันเซิ้งกลับไปบ้านของตนหรือบ้านช่างทำบั้งไฟ

ที่มา

  • ปรีชา พิณทอง, อร่ามจิต ชิณช่าง, ๒๕๓๗ : ๓๔-๔๔,
  • พจน์ ธัญญาพันธ์, วิทยาลัยครูสกลนคร : ๑-๕,
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๓๖ : ๓-๙๖

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*