สวัสดีพ่อแม่พี่น้อง มื้อนี้อีสานร้อยแปด ก็มีสาระน่ารู้ดี ๆ มาฝากกันอีกเช่นเคย สำหรับครั้งนี้จะมาในเรื่อง การปลูกเผือก พืชหัวที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ขอบอกเลยว่ารายได้งามหลาย ถ้าอยากรู้ อย่ารอช้า ตามไปดู การปลูกเผือก กันเลย
เผือก เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั้งในดินที่มีความชุ่มชื้นสูง ที่ลุ่ม และที่ดอน จึงนิยมปลูกเผือกในพื้นที่ดังกล่าว และในที่ลุ่มยังสามารถปลูกเผือกได้ทั้งในน้ำเหมือนปลูกข้าว กับบนดินที่ชื้นแต่ต้องไม่มีน้ำขัง สำหรับการปลูกเผือกในที่ลุ่มริมแม่น้ำจะนิยมปลูกเผือกประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ส่วนการปลูกเผือกในที่ราบน้ำไม่ท่วมและไม่มีการให้น้ำชลประทาน เป็นการปลูกเผือกโดยอาศัยน้ำฝน การปลูกเผือกแบบนี้มักปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน หรือช่วงฤดูฝนนั่นเอง
พันธุ์เผือกมาแล้ว ชาวบ้านจะเรียกว่าลูกเผือก หรือ ลูกซอ จะนำมาวางเป็นแถว ๆ ในที่ร่ม บนดินที่เปียกชุ่มและเอาฟางปิดคลุมรดน้ำให้ชุ่มทุกวันประมาณ 5 – 6 วัน ลูกเผือกจะค่อย ๆ ผลิหน่อแล้วเติบโตเป็นต้นอ่อน สูงประมาณ 10 – 12 ซม. หลังจากนั้นก็ย้ายไปปลูกได้ หากลูกเผือกแตกหน่อหลายหน่อ เมื่อนำไปปลูกควรเด็ดให้เหลือเพียงหน่อเดียว
ไถ พรวน เก็บหญ้าออกให้หมด แล้วยกร่องทำแปลงปลูกกว้างประมาณ 5 เมตร แต่ละร่องอยู่ห่างกันประมาณ 1 เมตร ถึง 1 ½ เมตร เพื่อให้เป็นทางระบายน้ำยามฝนตก น้ำจะได้ไม่ขังในร่องดิน เสร็จแล้วขุดหลุมปลูก โดยแต่ละหลุมมีความกว้าง 50 เซนติเมตรโดยประมาณ
อีสานร้อยแปดแนะนำ แน่นอนว่าพืชทุกชนิดย่อมมีศัตรูตัวฉกาจ คอยบ่อนทำลายอยู่เสมอ สำหรับเผือกนั้น ศัตรูที่สำคัญเลยก็คือ เพลี้ยอ่อน ที่มักกัดกินใบเผือก สามารถป้องกันได้โดยใช้ยาไดเมทโธเอท ไดเมครอน หรือมาลาไธออน ประมาณ 2-4 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นใบให้ทั่ว
หนอนกัดกินใบ ควรใช้ยาเซฟวิน 85 หรือ มาลาไธออน อย่างใดอย่างหนึ่งประมาณ 2 ถึง 4 ช้อนสังกะสี / น้ำ 1 ปี๊บ หรือ โรคหัวเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราเข้าทำลายหัวเผือก ให้ใช้ยาเธอราคลอ หรือ ไดโพลาแทนในอัตราส่วน 1 – 2 ช้อนสังกะสี / น้ำ 1 ปี๊บ หยอดโคนต้น เพื่อกำจัดเชื้อราและป้องกันการลุกลามของโรค
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
ดูความคิดเห็น
มีลูกเผือกขายมัยครับ