ชื่อพื้นบ้าน ก้อยปลาขาว ก้อยปลาสูด
ชื่อภาษาอังกฤษ War of ants
ชื่อภาษาไทย มัจฉาชิงชัย
1.ปลาขาวมน หรือ ปลาสูด
2.ผักบั่ว หัวหอม ผักหอมป้อม ผักหอมเป ผักอีเสิม ตามแต่หาได้
3.น้ำปลา น้ำปลาแดก เกลือ แล้วแต่หาได้
4.ข้าวคั่ว
5.ฮังมดแดง
6.พริกป่น พริกแห้ง พริกดิบ พริกหวานเอาไปโยนทิ้งเลย บ่เข้ากัน
7.เหล้าขาว หรือเหล้าต้ม ไทยวิสกี้
1.นำปลาขาวมาล้างน้ำให้สะอาด หลายๆ น้ำ และ ขอดเกล็ดปลา
2. คัวปลา และ “ไส้ขี้” ให้เรียบร้อย
3. ตัดหัวปลา เอาไปใส่น้ำที่ต้มไว้จนเดือด ต้มหัวปลา เติมเกลือพอประมาณ
เหยาะน้ำปลาแดกใส่ปรุงน้ำต้มพอนัว
4. ฟัก(สับ) เนื้อปลาให้ละเอียด ปกติแล้วใช้คนกำพร้า กำมีดอีโต้ เป็นคนฟัก(สับ)
5. เทเหล้าขาว ไทยวิสกี้ลงใส่เนื้อปลา เพื่อ ฆ่าแม่พยาธิ ทิ้งไว้ 3 นาที
6. บีบคั้นพอให้น้ำคาวออก เททิ้ง อาจเติมน้ำอุ่น แล้วล้างรินน้ำออก
7. เอาน้ำต้มปลาที่ตั้งไว้ มาเทลวกเนื้อปลา ทิ้งไว้ 2 นาที อย่าให้สุกนัก
8. หารังมดแดง “ขุ” เอาแม่มดแดงทั้งรัง ลงคลุก บีบคั้นให้เข้ากันกับเนื้อปลา
จนมีรสเปรี้ยวอร่อย
9. เทข้าวคั่ว และพริกป่นลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน
10.เติมน้ำปลาแดก น้ำปลา และ ผงนัว ตามใจชอบ
11.หั่นผักหอมต่างๆ ลงไปคลุก
ผักกินกับเมนูอาหารนี้ ควรเป็นผักที่มีรสฝาด เช่น กระโดน ป้อกระโดน ผักสะเม็ก
เพื่อลดพิษของโปรตีนจากเนื้อปลา ในกรณีที่รับโปรตีนมากเกินความจำเป็น จะเกิดนิ่ว
ผักที่มีรสฝาดช่วยปรับสมดุลของอาหารประเภทนี้ ขอรับ
ในอนาคต ชาววิไล คนรุ่นใหม่ไฟแรงแกร่งกล้า อาจคิดค้น นวัตกรรม “ก้อยปลาขาวพาสเจอร์ไรส์”
ส่งขายร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เอาไปทาหน้าขนมปัง หรือสอดไส้แฮมเบอร์เกอร์
หรือเสิร์ฟ เป็นเมนูอาหารต้นฉบับ เป็นที่นิยมกินกันในตลาดยุโรป สร้างรายได้เข้าประเทศไทย
มาดแม้นส่งออกไม่ได้ หากประชาชนยังนิยมกินอาหารเมนูนี้อยู่ ตามอย่างบรรพบุรุษ
ก็จะเกิดแรงผลักดัน ในการรักษาสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ แม่น้ำ ลำคลอง ทั่วไป
ให้มีความปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้าง ลดการนำเข้าสารพิษ ที่ต่างประเทศมาหลอกขาย
เพื่อให้คนกิน”ลาบปลาขาว” ได้อย่างปลอดภัย แผ่นดินอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
วงการวิทยาศาสตร์ และ สาธารณะสุข ค้นคิดวิจัย วิธีการกินปลาดิบๆ สุก ๆ โดยปลอดภัย
“ไม่ใช่อะไรก็ทิ้งใส่กองไฟเผากินหมด” อาจมีน้ำยาล้างไข่พยาธิ ล้างสารพิษ ในเนื้อปลา
หรือ การเลี้ยงปลาพื้นเมือง ปลอดพยาธิ เพื่อขายให้ประชาชน ได้ลิ้มลองเยี่ยงปู่ย่าตายาย