คลังความรู้

หลุมขนมครก

หลุมขนมครก คือ การกักเก็บน้ำ ทั้งบนดิน และใต้ดิน ในพื้นที่ เพื่อให้มีน้้ำไว้ใช้พอเพียง หลุมขนมครกสามารถทำได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นที่ของตัวเองก็มีหลุมขนมครกได้ ไปจนถึงระดับภาคหรือทั้งประเทศก็มีหลุมขนมครกได้เช่นกัน

สมมุติว่ากระทะขนมครกคือประเทศไทย หลุมขนมครกในกระทะ 1 หลุม ก็เปรียบเสมือนพืันที่กักเก็บน้ำ 1 ที่ เช่นอาจจะเป็น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เป็นต้น

ถ้าลองย่อมุมมองให้เล็กลงมาอีกหน่อย สมมุติว่ากระทะขนมครกคือจังหวัด หลุมขนมครกในกระทะ 1 หลุม ก็เปรียบเสมือนแหล่งน้ำ 1 ที่ เช่น อ่างเก็บน้ำของจังหวัด บึง หนอง เป็นต้น

และถ้าย่อมุมมองลงมาอีก ให้สมมุติว่ากระทะขนมครกคือพื้นที่ของเรา หลุมขนมครกก็คือ หนอง นา บ่อ โอ่งน้ำ ฯลฯ

ดังนั้นคำว่า หลุมขนมครก ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นการขุดบ่อหรือขุดหลุมเสมอไป สามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน ก็นับว่าเป็นหลุมขนมครกทั้งหมด

หลุมขนมครก สำคัญอย่างไร

ลองนึกภาพว่าเราเทน้ำลงในกระทะขนมครก จะพบว่าน้ำบางส่วนก็จะไหลออกไป และน้ำบางส่วนก็จะขังอยู่ในหลุมขนมครก เหตุการณ์จำลองนี้ก็เปรียบเสมือนฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตกลงมาในประเทศ ตกลงมาในแต่ละภูมิภาค หรือตกลงมาในพื้นที่ของเรา ถ้าพื้นที่ของเราเป็นพื้นที่ราบเรียบ น้ำฝนที่ตกลงมาก็จะไหลผ่านออกไป จะมีแค่ส่วนน้อยที่ซึมลงดินในพื้นที่เรา

แต่ถ้าเราขุดหนองน้ำ ปลูกป่า ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวชะลอน้ำ ขุดคลองไส้ไก่ น้ำฝนที่ตกลงมาก็จะไหลลงไปยังจุดต่าง ๆ ที่ว่ามา ทำให้แทนที่น้ำฝนจะไหลออกไปจนหมดก็ถูกกักเก็บไว้ในพื้นที่ หรือบางส่วนที่ไหลออกไปอย่างรวดเร็วก็ไหลช้าลงและซึมลงใต้ดินมากขึ้น

หลุมขนมครกกับโคก หนอง นา โมเดล

เมื่อมองการทำโคก หนอง นา เป็นหลุมขนมครก 1 หลุม สมมุติว่าเกษตรกรมีพื้นที่คนละ 10 ไร่ นับเป็น 1 หลุมขนมครก เมื่อเกษตรกรทำแบบนี้เหมือนกัน ก็จะทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ยิ่งทำกันมากก็จะยิ่งมีความชุ่มชื้นมาก ซึงจะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำไปได้ไม่มากก็น้อย

หลุมขนมครกในรูปแบบ หนอง

เก็บน้ำได้เท่าปริมาตรของหนองหรือสระน้ำที่ขุด เฉลี่ยแล้วน้ำระเหยปีละ 300 วัน วันละ 1 ซม. น้ำจะระเหยปีละ 3 เมตร ดังนั้นควรจะขุดให้ลึก 3 เมตร หรือถ้ามีกำลังก็ขุดลึกมากกว่า 3 เมตรได้ จึงจะเหลือน้ำพอในหน้าแล้ง

หลุมขนมครกในรูปแบบ นา

ทำคันนาสูงอย่างน้อย 1 เมตร ถ้านา 1 ไร่ ก็จะสามารถจุน้ำได้ 1,600 ลูกบาศก์เมตร ประเมินว่าน้ำซึมลงดินอย่างน้อย 50% เหลือน้ำครึ่งหนึ่งอยู่ในนาข้าว

หลุมขนมครกในรูปแบบโคก

นำดินที่ขุดจากสระน้ำมาถมทำโคก สำหรับปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โคกเก็บน้ำไว้จากป่าบนโคก น้ำเก็บในใต้ดินได้ประมาณ 50% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา

หลุมขนมครกในรูปแบบคลองไส้ไก่

ขุดคลองไส้ไก่คดเคี้ยว โค้งไปมา เป็นทางน้ำบนดินเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับพื้นที่ ไม่ต้องวางท่อ ไม่ต้องติดสปริงเกอร์ ขุดบ่อพักน้ำไว้เป็นระยะ เพื่อดักน้ำให้กระจายทั่ว ลดภาระการรดน้ำด้วยแรงงานคน

หลุมขนมครกในรูปแบบฝาย

สร้างฝายชะลอน้ำ ฝายกักตะกอน ตามคลองไส้ไก่ ฝายช่วยชะลอความเร็วของน้ำ และทำหน้าที่ดักตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในหนอง นำตะกอนที่ได้กลับมาทำปุ๋ยหมัก

ฝายที่สามารถใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หรือจะใช้พืชน้ำก็ได้ เช่น หญ้าแฝก เป็นต้น

หลุมขนมครกในรูปแบบถังเก็บน้ำ

ถังเก็บน้ำ ก็นับเป็นหลุมขนมครกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับเก็บน้ำในสถานที่จำกัด หรือกรณีที่ต้องการทำเป็นระบบประปาในพื้นที่ ก็เอาขึ้นที่สูง อาจจะเป็นบริเวณเนินสุงสุดในพื้นที่ แล้วปล่อยน้ำลงมาตามคลองไส้ไก่ (ปัจจุบันนิยมสร้างแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อสูบน้ำขึ้นที่สูง)

หลุมขนมครกในรูปแบบตุ่ม

เป็นหลุมขนมครกในรูปแบบที่เห็นกันชินตา โดยรับน้ำจากหลังคาด้วยรางน้ำ ต่อรางลงตุ่มเก็บน้ำไว้ใช้ ตุ่มน้ำ เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดสำหรับเก็บน้ำฝน ทุกบ้านสามารถทำได้

หลุมขนมครก เป็นการจำลองการกักเก็บน้ำฝนไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไป ในพื้นที่หนึ่งสามารถทำได้มากกว่า 1 รูปแบบ ไม่จำกัดว่าจะต้องทำอะไรเป็นหลัก เพราะทุกรูปแบบสามารถกักเก็บน้ำได้เช่นกัน แต

แชร์
เซียงเหมี่ยง

เด็กผู้ชายบ้านนอก ที่เกิดและโตท่ามกลางความเป็นอีสาน จนซึมซับกลายเป็นความชื่นชอบและสนใจในประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และอีกหลาย ๆ อย่าง จนได้นำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าในเว็บไซต์ อีสานร้อยแปด นั่นเอง