ที่มาของคำว่า “แจ่วบอง”

แจ่วบองอาหารอีสารที่เป็นที่โปรดปรานและขึ้นชื่อ ใครจะรู้ว่ามีที่มาอย่างไร? มาดูกันว่าแจ่วบองที่ว่ามันมาจากไหน ทำไมต้องเรียกแจ่วบอง

อีสานร้อยร้อยแปดดอทคอม วันนี้ขอเสนอที่มาของคำว่า “แจ่วบองอาหารอีสานอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันดี จุดกำเนิดของแจ่วบองนั้นมาจากทางประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“แจ่ว” หรือ “แก่ว” ในภาษาอีสานหมายถึงน้ำพริก ส่วนคำว่า “บอง” นั้นพ้องมาจากคำว่าง “บ้อง” หมายถึงบ้องไม้ไผ่ หรือ กระบอกไม้ไผ่ รวมกันเป็น “แจ่วบอง” หรือ “แจ่วบ้อง” คือแจ่วที่ประกอบด้วยพริก ข่า ปลาร้า และส่วนผสมสมุนไพรอื่น ๆ ที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น แจ่วบองบางตำรับผสมหนังควายลงไปด้วย แจ่วบองใช้เป็นเครื่องจิ้มกินกับข้าวเหนียว ผักสดหรือนึ่ง ใช้เป็นเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารว่างของลาวที่เรียกว่า ไคแผ่น ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของหลวงพระบาง สมัยก่อนเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่ทำให้แจ่วบองสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียง่าย และเวลาเดินทางไปไหนมาไหนไกลๆ พกพาได้สะดวกอีกด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “แจ่วบอง” จนถึงทุกวันนี้

เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ไปชม หนังสั้น “ลูกอีสาน” ตอนลาบปลาร้า ซึ่งได้กล่าวถึงแจ่วบองเอาไว้ด้วย เป็นผลงานของคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับไข่ย้อยฟิล์ม นำผลงานการประพันธ์ คำพูน บุญทวี มาปรับปรุงใหม่

แชร์
ไทสกล คนสว่าง

แอดมินอีสานร้อยแปด ไทสกล คนสว่าง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บอีสานร้อยแปด นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทุกเรื่องราวของพี่น้องชาวอีสาน เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดแต่เกิดอยู่สกลนคร ออนซอนประเพณีวัฒนธรรมที่ราบสูงที่เรียกว่าภาคอีสาน จึงได้รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเหล่านั้นรังสรรค์ผลงานนำเสนอผ่านเว็บไซต์ "อีสานร้อยแปดดอทคอม"

ดูความคิดเห็น